การพัฒนาวิธีและประเมินชุดทดสอบโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

ผู้แต่ง

  • วัชรี สายสงเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • วิมล เพชรกาญจนาพงศ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ชลลดา มีทรัพย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ศุภลักษณ์ ยะแสง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • วันวิสา โกลาหล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • ภาณุวัฒน์ ผุดผ่อง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • วัฒนพงศ์ วุทธา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • เดชา แปงใจ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สมชาย แสงกิจพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน, ชุดตรวจ mullidot-IFA, การตรวจ multiplex real-time PCR

บทคัดย่อ

โรคติดต่อที่นำโดยสัตว์หรือแมลงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบแนวโน้มอุบัติการณโรคอุบัติใหม่/อุบัติช้ำเพิ่มขึ้นโดยสาเหตุเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาและประเมินชุด multidot-IFA เพื่อตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคบรูเซลโลสิส/เมลิออยโดสิส/เลปโตสไปโรสิส/สครับไทฟัส/มิวรีนไทฟัส และชุดตรวจหาสารพันธุกรรม multiplex real-time PCR จำนวน 3 ชุด คือ ชุดบรูเซลโลสิส/เลปโตสไปโรสิส/เมลิออยโดสิส/ทูลาริเมีย ชุดบรูเซลโลสิส/เลปโตสไปโรสิส/คิวฟีเวอร์/สครับไทฟัส และชุดบาร์โทเนล-โลสิส/มิวรีนไทฟัส/ริกเก็ตชิโอสิส/สครับไทฟัส ผลการประเมินพบว่าสไลด์แอนติเจนของชุด multidot-IFA มีความเสถียรไม่น้อยกว่า 1 ปี เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ - 20°ซ และค่าความไวอยู่ระหว่าง 86-100% ขณะที่ชุด multiplex real-time PCR มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรค 9 โรคที่กล่าวข้างต้น โดยไม่พบการข้ามสายพันธุ์กับเชื้อก่อโรคนอกกลุ่มศึกษาเมื่อใช้เกณฑ์ตัดค่าจำนวนรอบของการพบสารพันธุกรรมเพิ่มปริมาณที่ 3341 รอบ และปริมาณน้อยสุดที่พบอยู่ระหว่าง 0.01 ถึง 1,000 พิโคกรัม กล่าวโดยสรุป ชุด multidot-IFA และ multiplex real-time PCR มีค่าความไวและความจำเพาะสูงเพียงพอที่จะนำมาใช้ตรวจวินิจฉัยโรค เนื่องจากวิเคราะห์โรคได้หลายโรคพร้อมกันในการทดสอบครั้งเดียว ซึ่งนอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการรักษาแล้ว ยังช่วยในการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำของประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้