ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความเสี่ยง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, บุคลากรของมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญของคนไทย การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ข้อมูลที่เหมาะสมจะทำให้สามารถวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหานี้ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ดำเนินการระหว่างธันวาคม พ.ศ. 2560 - มีนาคม พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 - 4 ข้อมูลความรู้ ความเชื่อและพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีค่า IOC เท่ากับ 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีแอลฟา ครอนบาคเท่ากับ 0.75, 0.82 และ 0.85 ในส่วนที่ 2 3 และ 4 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจำนวน 235 คนและสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-Square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อายุระหว่าง 41-50 ปี สมรสแล้ว การศึกษาประถมศึกษามัธยมศึกษา รอบเอวน้อยกว่า 80 เซนติเมตร น้ำหนัก 51-60 กิโลกรัม ความดันโลหิตตัวบน 121-130 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตตัวล่าง 81-90 มิลลิเมตรปรอท ดัชนีมวลกายมีค่ามาตรฐานและไม่มีโรคประจำตัว การทดสอบความสัมพันธ์พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและ หลอดเลือดของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้