โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรมการจัดการตนเองบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ two–group, pre- and post-test design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จำนวน 40 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 รายกลุ่มควบคุม 20 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยกิจกรรม 4 สัปดาห์คือ สัปดาห์ที่ 1 การเรียนรู้ (mastery) สัปดาห์ที่ 2 ประสบการณ์การได้เห็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ (vicarious experience) สัปดาห์ที่ 3 การพูดชักจูง (verbal persuasion) สัปดาห์ที่ 4 การประเมินตนเอง (self-appraisal) แล้ววัดระดับน้ำตาลในเลือดและแบบสอบถามกิจกรรมการดูแลตนเอง 5 ด้านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยพัฒนามาจาก the Summary of Diabetes Self-Care Activities (SDSCA) ค่า CVI ได้ 0.85 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลัง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง และพบว่าคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ด้านการกินอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการกินยา ด้านการดูแลเท้า ด้านการผ่อนคลายอารมณ์พบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพฤติกรรมที่กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ดีที่สุดคือ ด้านการออกกำลังกาย รองลงมาคือด้านการกินยา ด้านการกินอาหาร ด้านการผ่อนคลายอารมณ์ และด้านการดูแลเท้า ตามลำดับ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.