การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • มณฑกานติ์ สีหะวงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านสุขภาพ, การดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้อุปสรรคการเข้าถึงและการรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic sampling) จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ประยุกต์ใช้กับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของเบคเกอร์ วิเคราะห์ผลแบบสอบถามด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมการรับรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.29 (Mean= 2.29, SD=0.45) เมื่อจำแนกตามปัจจัย พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 (Mean=2.45, SD=0.50) การรับรู้ความรุนแรงอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 (Mean=2.63, SD=0.50) การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.26 (Mean=2.26, SD=0.44) การรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.07 (Mean=2.07, SD=0.65) ส่วนด้านภาพรวมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.90 (Mean=1.90, SD=0.45) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงกับการรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ (r=0.305 และ 0.298 ตามลำดับ) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ