การพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, สเตียรอยด์, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์และศึกษาผลการแก้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุพื้นที่ตำบลบ้านกู่ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการระยะเวลาศึกษา ตุลาคม 2557 – พฤษภาคม 2559 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ ตัวแทน อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าของร้านชำและครู รวม 96 คน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะได้แก่ การสร้างองค์ความรู้ การสร้างแนวทางพัฒนา และการสร้างแนวทางปฏิบัติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า (triangulation data) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า แนวทางแก้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์ในกลุ่มผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ได้แก่ 1.การสร้างองค์ความรู้เครือข่ายชุมชนในการเฝ้าระวังเพื่อให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย แจ้งข่าวสารเรื่องสเตียรอยด์โดยบูรณาการกับงานประจำ 2. การสร้างทีมเฝ้าระวังชุมชนโดยทำหน้าที่ติดตาม ประสานงาน เฝ้าระวังและตรวจสอบช่วยกันกับเจ้าหน้าที่ 3. การเฝ้าระวังรถเร่ขายยาในชุมชน 4. การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมเป็น“ชุมชนต้นแบบเตียรอยด์” 5. การสร้างพันธะสัญญา (MOU) ในพื้นที่ 6. ติดตามประเมินผลโดยคณะกรรมการชุมชนทุก 1 เดือน ภายหลังดำเนินกิจกรรมต่างๆ แล้ว พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้อง (ร้อยละ 96.00) ผู้ดูแลในครอบครัว ผู้นำชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ (ร้อยละ 98.00) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ร้อยละ 98.00) ไม่พบการจำหน่ายเสตียรอยด์ (ร้อยละ 100.00) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจทางการแก้ไขปัญหาการใช้สเตียรอยด์อยู่ในระดับมาก และมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2560 ได้นำแนวทางนี้ขยายสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4 แห่งได้แก่ รพ.สต. เหล่าหมากคำ รพ.สต. บุ่งง้าว รพ.สต. หนองบัวสันตุ และ รพ.สต. สุขสำราญ ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์ในกลุ่มผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมโดยกระบวนการ AIC จะช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน สามารถ นำกระบวนการนี้ไปใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่ในชุมชนอื่นๆ ได้โดยใช้กลไกชุมชนจัดการเอง จะส่งผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จและยั่งยืน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.