ประสิทธิผลของสื่อวีดีทัศน์ผสมภาพแอนนิเมชั่นให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ศิริทิพย์ สงวนวงศ์วาน กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • กัลยา อุ่นรัตนะ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง, สื่อวีดีทัศน์, การตั้งครรภ์, ก่อนผ่าตัด, ความรู้, การระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง

บทคัดย่อ

การให้ข้อมูลผ่านสื่อวีดีทัศน์เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการทำหัตถการนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่จะต้องถูกทำหัตถการขณะที่ยังรู้สึกตัว เช่น หญิงตั้งครรภ์ที่จะเตรียมผ่าตัดคลอด และจะได้รับยาระงับความรู้สึกผ่านช่องน้ำไขสันหลัง ปัจจุบัน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มีการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีมากถึงร้อยละ 47.05 ใช้วิธีชนิดฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวด ร้อยละ 76.5 พบว่าหญิงตั้งครรภ์มักมีความวิตกกังวลและกลัว ต้องการความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว ก่อนและหลังได้ยาระงับความรู้สึก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของสื่อวีดีทัศน์ที่พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับนัดผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องจำนวน 40 ราย ณ คลินิกวิสัญญีสรรพสิทธิ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ บริเวณห้องตรวจผู้ป่วยนอก ตั้งแต่เดือน มกราคม 2556 - มกราคม 2558 สื่อวีดีทัศน์ผสมภาพกราฟิ กแอนนิเมชั่นที่ใช้พัฒนาขึ้นจาก เอกสาร ตำราทางวิสัญญี ร่วมกับประสบการณ์ เนื้อหาประกอบด้วย procedural information, sensory information, behavioral information, coping skills information ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน (1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบวัดความรู้ด้านการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง และ (3) แบบประเมินการปฏิบัติตัว ก่อน ขณะ และหลังให้ยาระงับความรู้สึก การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ความตรงของเนื้อหาได้ค่า content validity index 0.86 ทดสอบความเที่ยงมีค่าความเชื่อมั่นจากสูตร KR-20 เท่ากับ 0.72 ข้อมูลที่เก็บได้แก่ ข้อมูลทั่วไป การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์ Paired t-test, Fisher’s exact test และหา Power of Test โดยโปรแกรม G*Power ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษา 40 ราย อายุเฉลี่ย 28±4.63 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษาร้อยละ 57.5 ไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลร้อยละ 97.5 คะแนน หลังชมสื่อวิดีทัศน์ พบว่าคะแนนความรู้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 12.28±2.10 เป็น 14.45±1.53 และความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ดังนั้น การใช้สื่อวีดีทัศน์ผสมภาพแอนนิเมชั่นให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังผสมยาแก้ปวดในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเพิ่มความรู้ การปฏิบัติตัวและคลายวิตกกังวลกังวลแก่ผู้ป่วย จึงควรมีสื่อวีดีทัศน์ให้ข้อมูลในหน่วยบริการที่มีการทำหัตถการ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ