ความชุกของการสูบบุหรี่ในนักศึกษาพยาบาล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ ถ่างกระโทก ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอกกมล ไชยโม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
  • ภราดร ยิ่งยวด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • วินัย ไตรนาทถวัลย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การสูบบุหรี่, นักศึกษาพยาบาล, ความชุก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและสังเคราะห์ผลการวิจัยเกี่ยวกับความชุกของการสูบบุหรี่ในนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2550-2560) ผู้วิจัยคัดเลือกวรรณกรรมที่ใช้ในการศึกษาตามเกณฑ์ของ PICOS เพื่อประเมินคุณภาพของงานวิจัย จากฐานข้อมูล CINAHL, PubMed, Scopus, Cochrane และ ScienceDirect โดยใช้คำสำคัญในการค้นหา คือ “Tobacco”, “Smoking” และ “Nursing Student” ผลการศึกษาพบว่า จากวรรณกรรมที่ค้นพบทั้งหมด 833 วรรณกรรม ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด 10 วรรณกรรม เป็นการออกแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ความชุกของการสูบบุหรี่ในนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีอยู่ในช่วงร้อยละ 1.7 ถึง 31.8 ความชุกของการสูบบุหรี่ในนักศึกษาพยาบาลพบมากที่สุดในออสเตรเลีย (ร้อยละ 23.5) และประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ กรีซ (ร้อยละ 31.8) โปรตุเกส (ร้อยละ 25.2) สเปน (ร้อยละ 26.1-28.8) ตุรกี (ร้อยละ 12.3-19.5) ซาอุดีอาระเบีย (ร้อยละ 16) และพบความชุกต่ำในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย (ร้อยละ 1.7) และลาว (ร้อยละ 6.1) จากการทบทวนวรรณกรรมแสดงให้เห็นว่าความชุกและการกระจายของการสูบบุหรี่ในนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีแตกต่างกันในแต่ละประเทศที่ศึกษา ซึ่งควรมีการจัดทำโครงการรณรงค์เพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ในโรงเรียนพยาบาล มีการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ และควรได้รับการส่งเสริมและดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ในนักศึกษาพยาบาล

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-15

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้