ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลัก ซึ่งเป็นบุตรหลานหรือญาติ อายุ 18 - 59 ปี จำนวน 334 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแคว์ และสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีคุณภาพชีวิตในภาพรวมในระดับดีร้อยละ 63.5 ปัจจัยที่มีอิทธิพลและทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เรียงตามลำดับค่า Beta ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล การได้รับการสนับสนุนทางสังคม รายได้ ทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการดูแล และสถานภาพสมรส (0.531, 0.311, -0.305, 0.233, 0.160, 0.158, -0.118 และ 0.084) โดยสามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ร้อยละ 58.1 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิการทางสังคมในจังหวัดจันทบุรี ควรส่งเสริมการสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุ การเข้าถึงบริการสุขภาพ และสนับสนุนให้ผู้ดูแลมีรายได้ที่เพียงพอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้ดีขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.