การดำเนินโรคไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2: กรณีศึกษาโรงพยาบาลอรัญประเทศ
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, โรคไต, การดำเนินโรคบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (retrospective study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินโรคของผู้ป่วย เบาหวานในแต่ละกลุ่ม และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงและการดำเนินโรคที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มที่ได้รับยา ASA และไม่ได้รับยา ASA โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยวิธีการ case control study วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยใช้ยา ASA ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลอรัญประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2560 จากฐานข้อมูล 43 แฟ้ ม ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 69.7 ช่วงอายุ 56 – 75 ปี ร้อยละ 36.3 เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เริ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในปี พ.ศ. 2555 ร้อยละ 51.1 สูบบุหรี่ ร้อยละ 17.3 และดื่มเหล้าขาว ร้อยละ 13.7 ในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพียงอย่างเดียวร้อยละ 16.0 มากกว่ากลุ่มป่วยโรคไตและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 การดำเนินโรคตามเกณฑ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่ 3 ค่า eGFR 30-59 mL/min/1.732 ร้อยละ 37.0 ทั้งนี้การศึกษานี้ใช้ยา ASA ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยา ASA 81mg และกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ASA พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา ASA จะมีระดับการควบคุมเบาหวาน (HbA1C) เฉลี่ย 6.61 SD 2.869 น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา ASA ที่นัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 และผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา ASA จะมีอัตราการกรองไตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 516.76 mL/min/1.732 มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา ASA ที่นัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 ดังนั้นควรมีการจัดทำนโยบายเชิงรุกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ไตจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากยังไม่เกิดประสิทธิภาพจึงควรค้นหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยพัฒนาระบบคุณภาพการบริการ เช่น สำหรับผู้รับผิดชอบทางด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญด้านสร้างเสริมสุขภาพ และการดูแลหรือการเยี่ยมบ้าน จากผลวิจัยการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับจำนวนกลุ่มป่วยด้วยโรค เบาหวานเพียงอย่างเดียวและกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวานและไตร่วมด้วย โดยพบว่าบุหรี่มากที่สุด 10 มวนต่อซองต่อวัน ซึ่งมีสาเหตุมากจากพฤติกรรมสุขภาพ และบริบททางสังคม และการดื่มเหล้าขาวยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิดโรคของผู้ป่วยเบาหวานทั้งกลุ่มป่วยโรคเบาหวานอย่างเดียว กลุ่มป่วยโรคไตและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลักษณะการดื่ม 1-4 ดื่มมาตรฐาน คือ 2-9 ฝาใหญ่ หรือ 1-4 เป๊ ก/ตอง/ก๊ง 5-11 ดื่มมาตรฐาน คือ 10 ฝาใหญ่ หรือ 5 เป๊ ก/ตอง/ก๊ง บ่งชี้ว่าเหล้าขาวเป็นเหล้าพื้นบ้านหาซื้อง่าย และราคาถูก ผู้วิจัยจึงเสนอให้ความสำคัญกับปัจจัยทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งหากปรับเปลี่ยนปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้อุบัติการณ์ หรือความชุกลดลง ทั้งนี้ควรศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อทราบถึงสาเหตุของพฤติกรรม และแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.