ประสิทธิผลของโครงการคลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่ เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่าย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, หน่วยปฐมภูมิ, ความแออัดของโรงพยาบาล, เวชศาสตร์ครอบครัวบทคัดย่อ
ในปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐแม่ข่ายพบปัญหาความหนาแน่นของผู้ป่วยจำนวนมาก โรงพยาบาลมหาสารคามได้จัดทีมดำเนินการจัดตั้ง “คลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่” ออกให้บริการในเขตอำเภอเมืองมหาสารคามโดยจัดบริการให้กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม สายตาผิดปกติ ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ไม่ดีและกลุ่มเปราะบางทางสังคม กิจกรรมประกอบด้วย การคัดกรองสายตา การลดอาการปวดเข่าและประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม การให้ความรู้ทางด้านโภชนาการ การออกกำลังกายและกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ผู้ปวดข้อและข้อเข่าเสื่อม มีการตรวจรักษาโรคโดยแพทย์ ประเมินสภาพจิตใจและการติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน โครงการคลินิกผู้สูงอายุซึ่งเป็นหน่วยที่ขยายส่วนบริการของงานปฐมภูมิให้มีเชิงรุกมากขึ้นเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโครงการคลินิกผู้สูงอายุโดยเปรียบเทียบจำนวนครั้งการเข้าโรงพยาบาลแม่ข่ายระหว่างก่อนและหลังรับบริการ นอกจากนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบบริการที่เหมาะสมในการจัดบริการเชิงรุกที่จะรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นในอนาคต วิธีการศึกษา:เปรียบเทียบจำนวนการเข้าโรงพยาบาลแม่ข่ายแผนกผู้ป่วยนอกด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตเวชและโรคทางกระดูกและข้อ ของผู้ป่วยที่เข้าโครงการคลินิกผู้สูงอายุโดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนเข้ารับบริการ 2 ปีย้อนหลังและหลังรับบริการคลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่ด้วยสถิติ paired t-test และศึกษาวิเคราะห์สาเหตุที่มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้สูงอายุโดยการทำ focus group discussion กับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ผลการดำเนินงานพบว่า มีผู้ป่วยเข้าร่วมคลินิกผู้สูงอายุจำนวน 180 คน ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 71.98±6.95 ปี เมื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่าหลังเริ่มโครงการคลินิกผู้สูงอายุค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้ง OPD visit ลดลง 2.285 ครั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อมุ่งเน้นการรักษาและป้ องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หกล้ม และโรคทางจิตเวช ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุพบว่าหลังเริ่มโครงการคลินิกผู้สูงอายุ ค่าเฉลี่ยของจำนวน ครั้ง OPD visit ด้วยโรคเหล่านี้ลดลง 1.173 ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ดังนั้น คลินิกผู้สูงอายุเคลื่อนที่อ� าเภอเมืองมหาสารคามจึงเป็นรูปแบบบริการเชิงรุกสามารถลดความแออัดของโรงพยาบาลแม่ข่ายได้ นอกจากนั้นยังเพิ่มการเข้าถึงบริการรักษาโรคเบื้องต้น การป้ องกันความเสื่อมในผู้สูงอายุ การเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุและผู้ดูแลเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นDownloads
Download data is not yet available.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2019-08-15
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.