ประสิทธิผลของแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจในทารกที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยหนักเด็ก โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
เครื่องช่วยหายใจในทารก, เด็กทารก, แนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, หอผู้ป่วยหนักเด็กบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจถึงถอดท่อช่วยหายใจ ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ ความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในทารก เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ด้วยกระบวนการศึกษาเชิงประสิทธิภาพ รูปแบบ interrupted time series design โดยศึกษาในทารกแรกเกิดน้ำหนัก 1,000 กรัมขึ้นไป อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่ วยหนักเด็ก โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2560 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 46 ราย ซึ่งใช้แนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุม 21 ราย ซึ่งใช้แนวทางปกติที่ทำอยู่เดิม วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปด้วย t test และ exact probability test วิเคราะห์ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วยหายใจด้วย multivariable risk different regression วิเคราะห์ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย multivariable risk ratio regression และวิเคราะห์ตัวแปรควบคุม (shock, birth asphyxia) ด้วยgeneralized lineal regression model กำหนดระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทั่วไปของทั้งสองกลุ่มคล้ายคลึงกัน มีภาวะ shock (p=0.018) และ birth asphyxia (p=0.032) ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อการใช้แนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทารกกลุ่มทดลอง ลดระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น 6.2 ชั่วโมง (p<0.05) ลดระยะเวลาเริ่มหย่าเครื่องช่วยหายใจ ถึงถอดท่อช่วยหายใจได้เร็วขึ้น 10.7 ชั่วโมง ลดระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจได้สั้นลง 16.1 ชั่วโมง (p<0.05) และลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เหลือ 0.18 เท่า (p=0.056) ทารกทั้งสองกลุ่มไม่กลับมาใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.