ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
โรคฟันผุ, ปัจจัย, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางในผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก 0-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวนทั้งหมด 383 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวนทั้งหมด 11 แห่งเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561 ถึง 31 มกราคม 2562 ด้วยแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองและตรวจสุขภาพช่องปากเด็กวิเคราะห์ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ เด็กฟันไม่ผุและเด็กฟันผุ แสดงผลเป็นค่าความถี่ (ร้อยละ) และค่าไคสแควร์ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นแม่ของเด็ก จบระดับชั้นประถมศึกษา มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท และเด็กมีปัญหาโรคฟันผุ ร้อยละ 50.4 นอกจากนี้ พบว่า ผู้ปกครองของเด็กทั้งสองกลุ่มมีความรู้ใกล้เคียงกัน ซึ่งตอบคำถามถูกต้องทั้งหมด 13 ข้อ ในจำนวนข้อคำถาม 15 ข้อ โดยผู้ปกครองที่มีเด็กฟันไม่ผุมีระดับความรู้แตกต่างจากผู้ปกครองที่มีเด็กฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับนัยสำคัญ 0.05 นอกจากนี้ พบว่า มากกว่าร้อยละ 90.0 ผู้ปกครองมีความเชื่อระดับสูง และมากกว่าร้อยละ 60.0 ผู้ปกครองมีทัศนคติอยู่ระดับสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเพียง 4 ข้อคำถาม ในจำนวน 15 ข้อ และมากกว่าร้อยละ 50.0 ผู้ปกครองมีระดับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ความเชื่อ และทัศนคติด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมีผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้นการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.