ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉิน เร่งด่วนและวิกฤตในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉิน เร่งด่วนและวิกฤติในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบจับคู่ย้อนหลัง (matched case-control retrospective analytical study) กลุ่มตัวอย่าง 668 รายแยกเป็นกลุ่มศึกษา 334 รายและกลุ่มควบคุม 334 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดถามตอบด้วยตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.5 ขึ้นไป ค่าความเที่ยง 0.7 ดำเนินการระหว่างเดือน15 ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้นหลายตัวแปรด้วย conditional multiple logistic regression พร้อมประมาณช่วงเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0 ของ adjusted Odds ratio กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 53.8 และ 53.8 ตามลำดับ อายุระหว่าง 52-73 ปีมากที่สุด เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุทางถนน ร้อยละ 34.7 และ 47.9 ตัวแปรศึกษาสามารถทำนายการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ร้อยละ 59.7 เรียงตามลำดับได้แก่ การมีประสบการณ์เคยใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทัศนคติต่อการแพทย์ฉุกเฉิน การศึกษาไม่เกินชั้นมัธยมการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ความเชื่อมั่นในการใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน จากโรคเรื้อรังและสูงอายุและการไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล สรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมี 8 ปัจจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินผ่านการส่งเสริมปัจจัยเหล่านี้ในประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.