พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีกับการใช้สารเสพติดของกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บังอร เทพเทียน สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุพัตรา ศรีวณิชชากร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ประภาพรรณ จูเจริญ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, วัยผู้ใหญ่ตอนต้น, เอชไอวี, พฤติกรรมเสี่ยง, การใช้สารเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติด พฤติกรรมการป้องกันและการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชน เป็นการศึกษาข้อมูลของการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ สัมพันธ์กับการ ติดเชื้อเอชไอวีย้อนหลัง 5 ปีตั้งแต่ปี 2552 - 2556 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วงอายุคือกลุ่มวัยรุ่น (อายุ 14 - 18 ปี) และเยาวชน (อายุ 19 - 22 ปี) จำนวนทั้งหมด 20,570 ราย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มเยาวชนใช้สารเสพติด (แอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาบ้า) มากกว่าวัยรุ่นประมาณ 1 เท่า รวมทั้งมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ และมีพฤติกรรมการใช้สารเสพติดโดยการฉีดเข้าเส้นโลหิตมากกว่ากลุ่มวัยรุ่น หากแต่เยาวชนมีพฤติกรรม ป้องกันโดยการไปตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ในรอบปีที่ผ่านมามากกว่ากลุ่มวัยรุ่น วัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดจะมีประสบการณ์ทางเพศสัมพันธ์และการใช้สารเสพติดโดยการฉีดเข้าเส้นโลหิตมากกว่ากลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ใช้สารเสพติด [ประสบการณ์ทางเพศ OR=8.64, 95%CI=2.66-24.31 (แอลกอฮอล์); OR=5.12, 95%CI=1.92-18.73 (ยาบ้า), การใช้เข็ม OR=5.78, 95%CI=3.96-10.0 (แอลกอฮอล์); OR=6.31, 95%CI=3.36-10.0 (บุหรี่); OR=1.84, 95%CI=1.53-2.96 (ยาบ้า)) ในกลุ่มเยาวชนที่ดื่มแอลกอฮอล์และ สูบบุหรี่จะมีประสบการณ์ทางเพศสัมพันธ์และมีคู่นอนมากกว่า 1 คน) มากกว่ากลุ่มเยาวชนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่ [ประสบการณ์ทางเพศ OR=1.75, 959CI=1.32-2.32 (แอลกอฮอล์); 0R-2.63, 95%CI=1.72-4.03 (บุหรี่), มีคู่นอนหลายคน OR=2.31, 95%CI-1.90-7.35 (แอลกอฮอล์); OR-1.84, 95%CI-2.90-5.36 (บุหรี่), OR=2.34, 95%CI=1.42-4.29 (ยาบ้า)] ส่วนเยาวชนที่ดื่มแอลกอฮอล์กับเยาวชนใช้ยาบ้ามีการใช้สารเสพติดโดยการฉีดเข้าเส้นโลหิตมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์กับเยาวชนที่ไม่เสพยาบ้า ทั้งวัยรุ่นและเยาวชนที่มีการใช้สารเสพติดจะนำไปสู่การที่ไม่สามารถควบคุมการตัดสินใจและยับยั้งชั่งใจอันจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีหรือการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ควรให้มีการรณรงค์พฤติกรรมการป้องกันโดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนที่มีการใช้สารเสพติดโดยสมัครใจและควรพิจารณาให้ผู้ที่ มีพฤติกรรมเสี่ยงที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีและได้รับบริการปรึกษาด้วยตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้