พฤติกรรมการบริโภคผักที่เสี่ยงต่อการได้รับพิษจาก ยาฆ่าแมลงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในกลุ่มวัยผู้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • นิรมล ธรรมวิริยสติ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมทางเซนเซอร์เพื่อพัฒนาและผลิตชุดทดสอบ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิจิตตรา มาลัยเขต คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมทางเซนเซอร์เพื่อพัฒนาและผลิตชุดทดสอบ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รินรดา วิสุทธิ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมทางเซนเซอร์เพื่อพัฒนาและผลิตชุดทดสอบ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กัลย์รวี กนกเลิศวงศ์ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา หน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมทางเซนเซอร์เพื่อพัฒนาและผลิตชุดทดสอบ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส, ผักสด, ปัญหาสุขภาพ, ยาฆ่าแมลง

บทคัดย่อ

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางในกลุ่มเกษตรกร ทำให้สารพิษตกค้างในผักผลไม้เข้าสู่ร่างกายแบบสะสมจากการรับประทาน ผลกระทบจึงเกิดขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่เสี่ยงต่อการได้รับสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่ ที่พบปัญหาสุขภาพของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นหลัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับสารพิษตกค้างในผักตามตลาดจังหวัดชลบุรี พฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและผลตรวจสุขภาพของกลุ่มวัยผู้ใหญ่ในพื้นที่ โดยสุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร อายุ 25 – 60 ปี จำนวน 47 ราย นิยมรับประทานผักผลไม้สดประมาณ 1 กิโลกรัมต่อวัน ในเขตพื้นที่ชลบุรี สัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อประเมินความเสี่ยง ตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้นและผลเลือดทางห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติโดยใช้ one-way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ 0.050 พบว่า ผลการประเมินพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 60.0 จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงปานกลาง การจัดกลุ่มเสี่ยงจากแบบประเมินไม่สัมพันธ์กับระดับซีรัมเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสแต่มีแนวโน้มสัมพันธ์กับค่าโคเลสเตอรอลโดยรวมสูงขึ้นตามพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยนี้ชี้ให้ตระหนักถึงพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้ที่ปลอดภัย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการได้รับพิษตกค้างในผักผลไม้สด รวมทั้งความเสี่ยงในการเกิดโรคและป้องกันความรุนแรงของโรคต่อสุขภาพผู้บริโภค

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ