ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะบกพร่องทางปัญญา, ปัจจัยเสี่ยง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ภาวะบกพร่องทางปัญญา (cognitive impairment) ในผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความจำ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สมาธิหรือการตัดสินใจอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งร้อยละ 80.0 ของผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางปัญญาจะพัฒนาเป็นภาวะสมองเสื่อมต่อไป การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี จากผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อาศัยอยู่ในอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรีจำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เทียบเป็นสัดส่วนของประชากรจำแนกตามตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะบกพร่องทางปัญญา เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เกิดและไม่เกิดภาวะบกพร่องทางปัญญาด้วย Fisher’s excat test, odd ratio โดยนำปัจจัยที่มีค่า p-value น้อยกว่า 0.05 มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบหลายตัวแปรด้วยสถิติ multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุ คือ อายุ 80 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็น 11.1 เท่า (p= <0.05) การไม่ทำกิจกรรมยามว่างทางกาย มีความเสี่ยงเป็น 4.8 เท่า (p=<0.05) และเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมน้อย มีความเสี่ยงเป็น 6.1 เท่า (p=<0.05) ดังนั้นควรเฝ้าระวังการเกิดภาวะบกพร่องทางปัญญาในผู้สูงอายุกลุ่มที่มีความเสี่ยงเหล่านี้อย่างใกล้ชิด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.