การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สมคิด สุภาพันธ์ โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การจัดการรายกรณี, ไตเสื่อมระยะ 3b, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมในระยะลดลงปานกลางถึงมาก (3b) ด้วยรายกรณี คัดเลือกกลุ่มเป้ าหมายแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมในระยะ 3b จำนวน 44 คนระยะเวลาศึกษา 1 มกราคม 2559 – 31 มีนาคม 2560 ดำเนินการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมประชุมทีมงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ โดยการใช้แบบสอบถาม สังเกต สัมภาษณ์ การเสวนากลุ่ม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยจัดกิจกรรมในระยะเวลา 12 เดือน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมใช้กรอบแนวคิดแบบ PDCA ผลการศึกษา ได้รูปแบบการดำเนินงานชะลอไตเสื่อม โดยมีผู้จัดการรายกรณีเป็นผู้ประเมินปัญหาและวางแผนการจัดการปัญหาแต่ละด้านร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพรวมถึงมีครอบครัวชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย หลังจากเข้าโปรแกรมพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 44 ราย มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมจากเดิมร้อยละ 50.36 หลังการจัดการเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.27 ติดตามค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) พบว่าดีขึ้น 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.54 เปลี่ยนเป็น stage 1 (3 ราย), stage 2 (4 ราย) และ stage 3a (6 ราย) และลดลงเป็น stage 4 (8 ราย) คิดเป็นร้อยละ 18.18 ยังไม่ได้เข้าสู่ระยะฟอกไต ซึ่งจะพบว่าผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตเสื่อมในระยะ 3b ที่ได้เข้าโปรแกรมการจัดการรายกรณีส่งผลทำให้พฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นช่วยส่งเสริมทำให้การเสื่อมของไตลดลง ซึ่งรูปแบบการจัดการเน้นการเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนัก รับรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะควรพัฒนาและนำรูปแบบการจัดการรายกรณีไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ และควรศึกษาแบบ 2 กลุ่ม เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มเปรียบเทียบและทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ