ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับการรักษา ในโรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ทิชากร แก่นอินทร์ โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง
  • อาจินต์ สงทับ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การวางแผนจำหน่าย, การกลับมารักษาซ้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง โดยวัดผลจากการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่รับไว้เป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในหญิง หอผู้ป่วยในชายและหอผู้ป่วยในพิเศษที่รับไว้ในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วผู้ป่วย และข้อมูลการวางแผนจำหน่ายตามแนวทางการวางแผนจำหน่ายตามหลัก D-METHOD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และ Pearson Chi-square test ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ศึกษาจำนวน 161 คน อายุในช่วง 32-87 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 41-60 ปี ร้อยละ 83.2 เพศชาย ร้อยละ 85.1 สถานภาพสมรส ร้อยละ 88.8 สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 87.0 ไม่ได้ทำงานร้อยละ 67.7 จำนวนวันนอนในแต่ละครั้งน้อยกว่า 3 วัน ร้อยละ 64.0 ระยะเวลาการเป็นโรคมากกว่า 10 ปี มากที่สุดร้อยละ 50.3 ผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวางแผนน้อยกว่าที่ไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายร้อยละ 27.3 ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรายรายใหม่ที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายและไม่ได้วางแผนจำหน่ายไม่กลับมารักษาซ้ำ รายเก่าที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายร้อยละ 54.0 และกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันร้อยละ 15.47 ไม่กลับมารักษาซ้ำใน 28 วันร้อยละ 84.83 และพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายและไม่ได้รับการวางแผนจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่าความเชื่อมั่น 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ