การประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนไนเตรทและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มสาธารณะของจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วัชรา นพคุณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พรรคพล ชะพลพรรค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อุกฤษฎ์ สุกใส ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ไนเตรท, โคลิฟอร์มแบคทีเรีย, สารสนเทศทางภูมิศาสตร์, เกณฑ์มาตรฐาน, ปริมาณสารในน้ำดื่มที่เข้าสู่ร่างกาย

บทคัดย่อ

จากข้อมูลการให้บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ปัญหาที่พบในการตรวจคุณภาพของน้ำบริโภคคือการปนเปื้อนของไนเตรทและโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ซึ่งเป็นทั้ง ดัชนีความสะอาดของน้ำและมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค จึงได้ศึกษาความเสี่ยงโดยใช้สารสนเทศทางภูมิศาสตร์การประเมินสารในน้ำเข้าสู่ร่างกายโดยระบบทางเดินอาหารและความสัมพันธ์ด้วยสถิติ chi -square testสุ่มพื้นที่อำเภอในจังหวัดเชียงรายเก็บตัวอย่างน้ำโดยวิธีปราศจากเชื้อ และข้อมูลจากแบบสอบถาม ตรวจวิเคราะห์หาไนเตรทและโคโลฟอร์มแบคทีเรีย ด้วยวิธี ion chromatography และเอ็มพีเอ็น ตามลำดับ ผลการตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างทั้งหมด 44 ตัวอย่าง ไนเตรทไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.45 coliform ไม่ผ่านเกณฑ์ 16 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 36.36 ประเมินความเสี่ยงด้วยโปรแกรม GIS quantum อำเภอที่มีความเสี่ยงไนเตรทได้แก่ อำเภอแม่ลาวและเวียงชัยอำเภอที่มีความเสี่ยงโคลิฟอร์มได้แก่ อำเภอแม่ลาว ป่าแดด และดอยหลวง พื้นที่กับปริมาณไนเตรทและโคลิฟอร์ม-แบคทีเรียไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 0.05 ปริมาณสารในน้ำดื่มที่เข้าสู่ร่างกายโดยระบบทางเดินอาหาร ตามเพศ อายุ และน้ำหนักตัว พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.02-0.1 ADI<1 คาดว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสสาร

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ