ความสำเร็จในการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกระเทียม: กรณีศึกษาบ้านพงสะตือ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • เผด็จการ กันแจ่ม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สุนีย์ กันแจ่ม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • สุภัสสรา เอี่ยมสะอาด หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • หนึ่งฤทัย พลชัยยา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, การลดการใช้สารเคมี, การปลูกกระเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกระเทียมบ้านพงสะตือ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม จำนวน 115 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการปลูกกระเทียมโดยรวมอยู่ในระดับสูง ความสำเร็จในการลดใช้สารเคมีในการปลูกกระเทียม พบว่า ด้านสภาผู้นำ (μ=3.33, s= 0.60) ด้านการตลาด (μ=3.19, s=0.80) ด้านการมีส่วนร่วม (μ=3.16, s=0.72) และด้านตัวอย่างครัวเรือนต้นแบบ (μ=3.11, s=0.62) อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสนับสนุนจากองค์กรและบุคลากรภายนอก (μ=2.96, s=0.82) อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น การส่งเสริมศักยภาพของสภาผู้นำอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นคนขับเคลื่อนและกระตุ้นการทำงานในการลดการใช้สารเคมีในการปลูกกระเทียมหรือผลผลิตทางการเกษตรชนิดอื่นต่อไป สามารถเป็นต้นแบบสำหรับพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงในการลดการใช้สารเคมี

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-06

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ