ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะ Metformin Associated Lactic Acidosis ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภทที่ 2 ที่ได้รับยาเมทฟอร์มิน โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างพ.ศ. 2555-2560

ผู้แต่ง

  • วิลาสินี เสียงตรง หน่วยบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • บุญส่ง เอี่ยมฤกษ์ศิริ หน่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • พัชรี ยิ้มรัตนบวร กลุ่มงานวิชาการและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • นรินทร์ จินดาเวช หน่วยโรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบหายใจ เวชบำบัดวิกฤต กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • จินดา ประจญศานต์ หน่วยบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • อัญชนา คำพิลา หน่วยบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ยาเมทฟอร์มิน, ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติก, โรคเบาหวานประเภทที่ 2, ภาวะ metformin associated lactic acidosis

บทคัดย่อ

ระหว่างปีพ.ศ.2555-2560 มีรายงานการเกิดภาวะ metformin associated lactic acidosi (MALA) ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวนมากถึง 140 ราย คิดเป็นมูลค่าการรักษา 12,348,447 บาท ภาวะดังกล่าวมีอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกสูงถึงร้อยละ 25.00-50.00 ผลการศึกษาที่มีก่อนหน้าพบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาที่ได้รับต่อวันและระดับยาเมทฟอร์มินในเลือดกับระดับ lactate และ pH ในกระแสเลือด ซึ่งสัมพันธ์กับการเสียชีวิต การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเสียชีวิตและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะ MALA ตลอดจนหาความ สัมพันธ์ของขนาดยาเมทฟอร์มินที่ได้รับต่อวันกับพารามิเตอร์ดังกล่าว เป็นการศึกษาแบบวิเคราะห์ตัดขวางในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ได้รับยาเมทฟอร์มินและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่เดือนตุลา-คม พ.ศ. 2555 ถึงกันยายน พ.ศ. 2560 ร่วมกับได้รับวินิจฉัยภาวะ MALA ผ่านเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ ระดับlactate >5 mmol/L และ pH<7.35 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเวชระเบียนจากฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ากลางและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Chi-square test, multivariable logistic regression และ Spear-man correlation การศึกษาครั้งนี้มีผู้ป่วยที่ถูกนำข้อมูลมาวิเคราะห์จำนวนทั้งสิ้น 108 ราย มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 33.33 พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะ MALA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีระดับ lactate ในเลือดมากกว่า 10 mmol/L (OR=7.00; 95%CI=1.90-25.69; p=0.003) ระดับ pH ในเลือดน้อยกว่า 7 (OR=7.79; 95%CI=1.29-47.24; p=0.026) และผู้ป่วยที่มีระยะเวลาตั้งแต่แรกรับกระทั่งได้รับการบำบัดทดแทน ไตมากกว่า 12 ชั่วโมง (OR=4.91; 95%CI=1.01-23.66; p=0.047) อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดยาเมทฟอร์มินที่ได้รับต่อวันกับระดับ lactate (r=-0.09, p=0.38), creatinine (r=0.08, p=0.39) และ pH ในกระแสเลือด (r=0.06, p=0.52) การค้นพบครั้งนี้ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินและวางแผนการรักษา ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่ควรได้รับการบำบัดทดแทนไต ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะ MALA ควรศึกษาเพิ่มเติมโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างระดับยาเมทฟอร์มินในเลือดกับค่าพารามิเตอร์ดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ