การพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ในครัวเรือน (Med Kit) ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พัฒนาต้นแบบ, ยาสมุนไพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในครัวเรือนในประเทศไทยด้วยกระเป๋ายาประจำบ้าน รวมทั้งการศึกษาความรู้ เจตคติและการปฏิบัติของผู้ตัดสินใจเลือกการรักษาด้านการเจ็บป่วยของครัวเรือนในการรักษาทางการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน ตลอดจนเปรียบเทียบการเจ็บป่วย การเลือกวิธีการรักษา และค่าใช้จ่ายในการรักษา ก่อนและหลังการดำเนินการ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยคัดเลือกยาสมุนไพรจากบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาสามัญ-ประจำบ้าน และตำรับยาในโรงพยาบาลที่ใช้บ่อยและเป็นที่ยอมรับในรูปแบบเหมือนยาแผนปัจจุบันเพื่อให้ใช้สะดวกขึ้น โดยใช้กลไกของการสาธารณสุขมูลฐานที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นผู้ช่วยติดตามการใช้ยาและการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนโดยวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ จัดให้มีการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม อสม. และกลุ่มใช้ยาสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบลำดับขั้น แบบเจาะจง โดยคัดเลือกจากจังหวัดเป้ าหมาย 4 ภาค ภาคเหนือคือ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ คือ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคกลาง คือ จังหวัดสุพรรณบุรี และภาคใต้คือ จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยคัดเลือกจังหวัดละ 1 อำเภอ จำนวนทั้งสิ้น 1,366 หลังคาเรือน โดยมี อสม. เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลประชากรกลุ่มตัวอย่าง 10 หลังคาเรือนต่อ อสม. 1 คน โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจะเลือกใช้ยาสมุนไพรก่อนยาแผนปัจจุบันเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือเพิ่มจากร้อยละ 66.20 เป็น 85.40 พฤติกรรมที่เคยใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยช่วงเริ่มเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 66.60 และหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว 6 เดือนได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 91.20 โดยกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการใช้สมุนไพร ร้อยละ 92.30 คิดเป็นอัตราการใช้สมุนไพรโดยเฉลี่ย 6.1 ครั้งต่อครัวเรือน ประสิทธิผลของการรักษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยา-สมุนไพรของโครงการแล้วหาย ร้อยละ 45.52 และดีขึ้นร้อยละ 47.17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ยาสมุนไพรแล้วหายจากการเจ็บป่วย หรือมีอาการดีขึ้นภายในระยะเวลา 1-3 วัน คิดเป็นร้อยละ 63.42 รองลงมาใช้ระยะเวลา 4-6 วัน คิดเป็นร้อยละ 13.37 เพื่อรักษาตนเอง และรายการยาที่ใช้บ่อยที่สุดคือยาแก้ไอมะขามป้ อม สำหรับการเก็บค่ายาสมุนไพรจากครัวเรือนในระบบใช้ก่อนจ่ายทีหลังให้กับ อสม. สามารถเก็บได้คิดเป็นร้อยละ 97.80 หลังดำเนินโครงการพบว่าความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบการใช้ยาสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 4 เท่า

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ