การพัฒนาอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อัมพร จันทวิบูลย์ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
  • สง่า ดามาพงษ์ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

อาหารริมบาทวิถี, การพัฒนาต้นแบบ, คุณภาพชีวิต, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

ร้านอาหารริมบาทวิถีเป็นประเภทธุรกิจขนาดเล็กที่มีความสำคัญมากต่อประเทศไทยทั้งในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนและด้านเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันยังพบว่าอาหารไม่สะอาด และร้านค้าไม่เป็นระเบียบ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยว การวิจัยเชิงนวัตกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อหารูปแบบการดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีของประเทศไทยที่บูรณาการการดำเนินงานระหว่างภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 15 มีนาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2562 ศึกษาการดำเนินงานในพื้นที่ตัวอย่าง โดยศูนย์อนามัยเป็นผู้คัดเลือก มีการดำเนินงานที่ดี จำนวน 12 แห่งจากทั่วทุกภาคของประเทศด้วยการลงพื้นที่ การสนทนากลุ่มย่อย และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารรดับสูงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนผู้ประกอบกิจการร้านอาหารและร้านอาหารริมบาทวิถี ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อบ่งชึ้การพัฒนาการดำเนินงาน ลักษณะการบริหารจัดการ ปัจจัยที่นำสู่ความสำเร็จ และโอกาสในการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ แล้วนำมาใช้ประกอบกับการศึกษาจากเอกสาร ของหลักกฎหมาย หลักวิชาการ และหลักปฏิบัติ นำไปสู่การออกแบบแนวทางการดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีดังนี้ ในระดับชุมชนให้คำนึงถึงโครงสร้างของการดำเนินงาน 4 ด้านได้แก่ ด้านสิ่งของ รวมทั้งสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ด้านคน ด้านเงิน และด้านระบบงาน ในระดับเมืองให้มุ่งพัฒนาตามแนวคิด “เมืองน่าอยู่” ขององค์การอนามัยโลก โดยแนวทางการดำเนินงานอาหารริมบาทวิถีนี้ ควรนำไปประยุกต์ในการดำเนินงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนในทุกจังหวัดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในปี พ.ศ. 2563

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ