นวัตกรรมสื่อการสอนเรื่องพิษภัยบุหรี่ด้วย“ขวดดักควัน”
คำสำคัญ:
ขวดดักควัน, นวัตกรรม, ความรู้, ทัศนคติ, การสูบบุหรี่บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมสื่อการสอนเรื่องพิษภัยบุหรี่ด้วย “ขวดดักควัน” ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิธีการดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี แห่งละ 42 คน รวม 84 คน เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างวันที่16 ธันวาคม 2559 – 26 มิถุนายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้ใช้นวัตกรรมสื่อการสอนเรื่องพิษภัยบุหรี่ด้วย “ขวดดักควัน” ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม เกม การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ รวมระยะเวลา 1 วัน พร้อมเก็บข้อมูลก่อนการทดลอง และหลังทดลอง 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิตอ้างอิง (paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ใช้นวัตกรรมสื่อการสอนเรื่องพิษภัยบุหรี่ด้วย “ขวดดักควัน” และภายหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และคะแนนเฉลี่ยทัศนคติสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.005) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้นวัตกรรมสื่อการสอนเรื่องพิษภัยบุหรี่ด้วย “ขวดดักควัน” สามารถเพิ่มความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภัยจากบุหรี่ได้ ดังนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรสาธารณสุข และสถานศึกษาในการวางแผนและดำเนินการป้ องกันนักสูบหน้าใหม่ในนักเรียนด้วยการใช้นวัตกรรมสื่อการสอน เรื่องพิษภัยบุหรี่ด้วย “ขวดดักควัน” ได้อย่างต่อเนื่อง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.