การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย: กรณีศึกษา จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีรพร สถิรอังกูร กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • กนกพร แจ่มสมบูรณ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • ศิริมา ลีละวงศ์ กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • หทัยรัตน์ บุญแก้ว กองการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, บริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาล, ความปลอดภัยของผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี 11 แห่ง ประชากรประกอบด้วยผู้บริหารการพยาบาลของโรงพยาบาลเป้ าหมาย 122 คน ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นหัวหน้าพยาบาลของโรงพยาบาลเป้ าหมาย 11 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่ายเป็นพยาบาล 320 คน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ (1) ศึกษาสถานการณ์ (2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ และ (3) ประเมินผลรูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผสานวิธี ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า CVI=1.0 และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจและแนวทางการสนทนากลุ่มสถานการณ์การบริหาร แนวทางการสนทนากลุ่มเพื่อประเมินผลความรู้ด้านการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาล แนวทางการสนทนากลุ่มเพื่อประเมินผลรูปแบบ แบบบันทึกผลลัพธ์ของรูปแบบ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ และแบบประเมินผลรูปแบบ หาความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ 0.95 และ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบ การบริหารประกอบด้วย บทบาทของหัวหน้าพยาบาล นโยบายการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาล คณะกรรมการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาล แนวทางการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ประกอบด้วย 4 กลวิธี ได้แก่ การบริหารจัดการอัตรากำลังตามประกาศสภาการพยาบาล การทบทวนบทบาทพยาบาล การผสมผสานอัตรากำลังพยาบาล และการบริหารงานแบบลีน ผลลัพธ์ของรูปแบบ พบว่า พยาบาลมีความคิดเห็นโดยรวมต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารการพยาบาลเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม ภายหลังทดลองรูปแบบพบว่าโรงพยาบาลร้อยละ 90.9 มีผลลัพธ์ของตัวชี้วัดดีขึ้น ทั้งด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยและด้านการบริหารจัดการอัตรากำลังพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย พยาบาลขึ้นเวรโดยเฉลี่ยก่อนและหลังทดลองรูปแบบจาก 63.8 เป็น 55.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้