การพัฒนาการคุ้มครองอาสาสมัครวิจัย โดยโครงการรับรองคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของ เครือข่ายความริเริ่มทางยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทบทวนด้านจริยธรรมร่วมกับชมรมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก

ผู้แต่ง

  • วิชัย โชควิวัฒน สำนักพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์

คำสำคัญ:

การคุ้มครองอาสาสมัครวิจัย, การรับรองคณะกรรมการจริยธรรม, เครือข่ายความริเริ่มทางยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทบทวนจริยธรรม, ชมรมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก

บทคัดย่อ

การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเกิดขึ้นในกองทัพนาซีและที่อื่นๆ ทำให้เกิดการสร้างกฎกติกาและแนวทาง ป้องกัน แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นทั่วไป แม้แต่ในสหรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการทบทวนประจำสถาบัน ทำหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง แต่ก็ยังมีการเสียชีวิตของอาสาสมัครวิจัยในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง จึงมีความพยายาม ที่จะพัฒนาระบบการคุ้มครองอาสาสมัครวิจัย แต่ประสบผลสำเร็จน้อย ต่อมามีการก่อตัวของกลุ่มบุคคลกลุ่มเล็กๆ โดยการสนับสนุนของแผนงานวิจัยและฝึกอบรมโรคเขตร้อนขององค์การอนามัยโลกเข้ามาริเริ่มดำเนินการด้านนี้จน ประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินการจากประสบการณ์ตรงร่วม กับการทบทวนเอกสาร ซึ่งการดำเนินการเริ่มจากการพัฒนาแนวทางการจัดตั้งและดำเนินงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และจัดตั้งชมรมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในเอเชียและแปซิฟิกตะวันตก สามารถจัดทำแนวทาง ที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรองและจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในประเทศกำลังพัฒนาที่ยังไม่มีคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นในบางประเทศ ต่อมาได้มีโครงการพัฒนาคุณภาพของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยโดย แผนงานรับรองคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยโดยใช้กระบวนการสำรวจและประเมินผล ซึ่งมีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในภูมิภาคและนอกภูมิภาคสมัครเข้าขอรับรอง และสามารถผ่านการรับรองจนถึง พ.ศ. 2562 รวม 250 ครั้ง ต่อมามีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายคณะกรรมการจริยธรรมที่ผ่านการรับรองแล้วเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จสูง ซึ่งปัจจัยความสำเร็จประกอบด้วยการใช้วิธีการ ดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์ เริ่มจากการสร้างเครื่องมือคือแนวปฏิบัติและการก่อตั้งองค์กรเพื่อเป็นกลไกการทำงาน มีการประสานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประสบผลสำเร็จสูงและเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในประเทศไทย มีคณะกรรมการจริยธรรมหลายคณะผ่านการรับรองแล้วโดยผลการรับรองได้รับการรับรองจากหน่วยงานระดับชาติ คือสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมควรขยายผลต่อไป โดย เฉพาะเมื่อประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งมีบทบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลบุคคลตามมาตรฐานสากลและมีบทลงโทษแก่ผู้ละเมิดด้วยแล้ว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

วิธีการอ้างอิง