ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ประสบอุบัติเหตุทางจราจรในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 พ.ศ. 2557- 2559
คำสำคัญ:
ระดับแอลกอฮอล์, อุบัติเหตุทางจราจร, เขตสุขภาพที่3บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ประสบอุบัติเหตุทางจราจรในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินสถานการณ์ของอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นการศึกษาแบบย้อนกลับ โดยการรวบรวมข้อมูลจากการนำส่งตัวอย่างเลือดของผู้ประสบ อุบัติเหตุที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล และจากการดำเนินคดีของตำรวจในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 ประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุทัยธานี และชัยนาท ช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2559 จำนวน 972 ราย เพื่อเป็นข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงเวลา ชนิดของยานพาหนะในการ ขับขี่ และช่วงเวลาที่เกิดเหตุผลการศึกษาพบว่าผู้ประสบอุบัติเหตุทางจราจร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกินกว่าระดับกฎหมายกำหนดให้สามารถขับขี่ยานพาหนะได้ถึงร้อยละ 57.82 และร้อยละ 29.32 ของช่วงอายุ 31-45 ปี เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ร้อยละ 44.03 มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 26.65เกิดอุบัติเหตุมากสุดในช่วงเวลา 16.00-19.59 น. และร้อยละ 25.60 ช่วงเวลา 20.00-23.59 น. การศึกษาครั้งนี้ร้อยละ 54.53 เกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ และร้อยละ 30.86 เกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ ซึ่งร้อยละ 81.48เป็นผู้ขับขี่ร้อยละ 15.64 เกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์มากที่สุดในช่วงเวลา 20.00-23.59 น. และจากการเปรียบเทียบการเกิดอุบัติเหตุรายเดือนระหว่างเดือนมกราคม 2557 ถึงธันวาคม 2559 พบว่าเดือนเมษายนมีอุบัติเหตุมากที่สุด รองลงมา คือเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 4.53 และ 3.57 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้ง 2 เดือนเป็นช่วงเดือนที่มีวันหยุดตามเทศกาลหลายวัน และมีปริมาณการจราจรคับคั่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยครั้ง การรณรงค์ลดการขับขี่ยานพาหนะเมื่อดื่มสุรา และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจึงยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.