การทบทวนการคัดเลือกยาในบริบทของประเทศไทยในระดับประเทศ สถานบริการสาธารณสุขและอุตสาหกรรมยา
คำสำคัญ:
การคัดเลือกยา, การขึ้นทะเบียนตำรับยา, บัญชียาหลักแห่งชาติ, ยามุ่งเป้า, ยากำพร้าและยาขาดแคลนบทคัดย่อ
การคัดเลือกยาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการเข้าถึงยาของประชาชน จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาคัดเลือกยาเข้าสู่ประเทศ สถานบริการ และกระบวนการผลิตและนำเข้าของผู้ประกอบการ โดยมีผู้เกี่ยวข้องในแต่ละระดับที่แตกต่างกัน การศึกษานี้ใช้การทบทวนวรรณกรรมเป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการการคัดเลือกยาที่สำคัญ ปัญหาและอุปสรรค ความสำเร็จ และความท้าทายในอนาคต ผลการทบทวนพบว่าแต่ละระดับมีเกณฑ์หลักที่ใช้ คือ คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิผล ซึ่งกระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่ประเทศมีการขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นช่องทางที่สำคัญก่อนจำหน่ายยาในประเทศ และหากไม่สามารถใช้ช่องทางปกติได้จะใช้กลไกยากำพร้าและยาขาดแคลนที่พัฒนาขึ้น การพิจารณายาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติเน้นประเด็นความคุ้มค่า ความเสมอภาค และความสามารถในการจ่ายของรัฐเพื่อครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพ สำหรับการคัดเลือกยาของ ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ผลิตภายในประเทศได้เพิ่มการพิจารณายามุ่งเป้าของประเทศเพื่อให้มี ยาชื่อสามัญใช้ในประเทศ ลดค่าใช้จ่าย มียาใช้สอดคล้องกับผลกระทบด้านสาธารณสุขของประเทศ การคัดเลือกยาของสถานพยาบาลใช้คณะกรรมการเภสัชกรรมบำบัดเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลักและคัดเลือกยาตามเกณฑ์ของแต่ละโรงพยาบาลและแนวทางของรัฐที่กำหนด ประเด็นความท้าทายในอนาคต อย.ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการคัดเลือกยาเข้าสู่ประเทศจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มแข็งในการทบทวนทะเบียนตำรับยา และพัฒนาเกณฑ์การประเมินให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลผลการประเมินต่อสาธารณะ เพื่อให้กระบวนการคัดเลือกยาของประเทศมีความโปร่งใส ลดความซ้ำซ้อนและเกิดการบูรณาการเชิงระบบร่วมกัน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 Journal of Health Science - วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.