การพัฒนาระบบรายงานตัวชี้วัดอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช บุญกอง โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • อุไรวรรณ ศรีดามา โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • อภิญญา คำพะโคตร โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร
  • อัครพล ยงดี โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, ตัวชี้วัดในโรงพยาบาล, อัตราการกลับมารักษาซ้ำ

บทคัดย่อ

ตัวชี้วัดอัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผนเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนระบบการดูแลผู้ป่วยขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล จากการวิเคราะห์ระบบรายงานตัวชี้วัดพบปัญหาได้แก่ การรายงานข้อมูลซ้ำ ร้อยละ 16.67 ไม่รายงานความเสี่ยงในระบบร้อยละ 53.33 ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการรายงานตัวชี้วัด อันจะนำไปสู่การพัฒนาข้อมูลที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้มีระบบการรายงานที่ครบถ้วน สามารถรับรู้ถึงสถานการณ์การกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันของหน่วยงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรายงานและศึกษาผลของการพัฒนาระบบรายงานตัวชี้วัด ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 มกราคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559 ผู้ให้ข้อมูลหลักตามคุณสมบัติที่กำหนด คือผู้มีประสบการณ์ในการรับใหม่ผู้ป่วยที่กลับมารักษาซ้ำประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 40 คน และพยาบาลสารสนเทศ 2 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นการปฏิบัติ และ ขั้นการประเมินผลและสะท้อนการปฏิบัติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาคือ ความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ระบบรายงานตัวชี้วัด unplanned re-admission rate ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ พยาบาลเจ้าของไข้ แบบฟอร์มแรกรับ โปรแกรมสารสนเทศกลุ่มการพยาบาล menu หน่วยงาน หัวข้อ คงพยาบาล+Risk กระบวนการ ได้แก่ (1)พยาบาลรับใหม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำ (2) ลงบันทึกในแบบฟอร์มแรกรับ (3) ลงข้อมูลรายงานอุบัติการณ์ (4) เลือกรหัสความเสี่ยง Q06 (unplanned re-admission rate) (5) ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดและพยาบาลผู้จัดการความเสี่ยงตรวจสอบ ทบทวน รวบรวมและสรุปรายงานทุกเดือน และ (6) หัวหน้างานนิเทศกำกับตามมาตรฐานการรับใหม่ ผลลัพธ์ได้แก่ ประสิทธิภาพของโปรแกรมการรายงานตัวชี้วัด ส่วนผลการพัฒนาระบบพบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมได้แก่ มีการเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลตัวชี้วัดครบถ้วนร้อยละ 100.0 จากการประเมินของผู้ใช้งานโปรแกรมพบว่าโปรแกรมช่วยทำให้รายงานความเสี่ยง Q06 รวดเร็วขึ้นร้อยละ 90.0 โปรแกรมใช้งานง่ายร้อยละ 87.5 โปรแกรมช่วยอำนวยความสะดวกในการรวบรวมรายงานตัวชี้วัด unplanned re-admission rate ร้อยละ 87.5 ความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 87.5 และเมนูการใช้งานมีความเหมาะสมร้อยละ 82.5 ตามลำดับ ผลจากการติดตามตัวชี้วัดทำให้หัวหน้าพยาบาล หัวหน้าหน่วยงานทราบถึงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยทำให้เกิดการทบทวนและแก้ไขปัญหาทันทีโดยมีการกำหนดมาตรการการวางแผนจำหน่ายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และมีการรายงานและติดตามตัวชี้วัดในการประชุมประจำเดือนกลุ่มการพยาบาลทุกเดือน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ