การพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สันติ ทวยมีฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชสีมา

คำสำคัญ:

ระบบข้อมูลข่าวสาร, การพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษารายละเอียดสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาข้อมูลด้านสุขภาพ (2) ออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ (3) ประเมินผล การพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการจำแนก แยกแยะ จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เป็นข้อค้นพบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติ F–test การวิจัยนี้ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รหัส KHE 2017-18 ผลการวิจัย พบว่า (1) คลังข้อมูลด้านสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา มีฐานข้อมูลหลายโปรแกรม มีการส่งต่อข้อมูลหลายช่องทาง เกิดปัญหาต่อความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และทันเวลาของข้อมูล ฐานข้อมูลด้านสุขภาพไม่ครบถ้วนในการสืบค้นเพื่อการปฏิบัติงาน ขาดข้อมูลที่รวดเร็วในการตัดสินใจและ การประเมินผล แนวทางการแก้ไข พัฒนาคลังข้อมูลให้เป็นรูปแบบฐานข้อมูลเดียว ส่งต่อข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เป็นแหล่งข้อมูลสืบค้น กำหนดเป้าหมาย การบันทึกผลการปฏิบัติงานแบบ Real Time เพื่อให้ข้อมูล ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน พัฒนาระบบ Monitoring Cockpit พัฒนาคอมพิวเตอร์ ความเร็วอินเทอร์เน็ต ให้เพียงพอทันสมัย (2) การออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ โดยพัฒนาคลังข้อมูลให้เป็นรูปแบบฐานข้อมูลเดียว เรียกว่า “health report program” ประกอบด้วยโครงสร้างคลังข้อมูล 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และคลังข้อมูลกลุ่มอื่นๆ เป็นการพัฒนาระบบงานบนเว็บ กำหนดเป้าหมายการทำงาน รายบุคคล ตำบล อำเภอ ตาม 6 กลุ่มวัย สามารถตรวจสอบข้อมูลสุขภาพ ผลการปฏิบัติงาน ได้แบบ real time ผ่านคลังข้อมูลและระบบ Monitoring Cockpit (3) การประเมินผลการพัฒนาคลังข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่า โดยภาพรวมของหน่วยบริการ มีความพึงพอใจการพัฒนาคลังข้อมูลสุขภาพระดับสูง ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ระดับสูง มีประโยชน์ในการวางแผนการทำงาน การควบคุม กำกับ ประเมินผล ได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับสูง ข้อเสนอแนะ สามารถนำคลังข้อมูลด้านสุขภาพไปพัฒนาต่อเนื่องและขยายผลใช้ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งอื่น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-02-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ