การประเมินการลดลงอัตราการกรองผ่านไตเพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคไตเสื่อมเรื้อรัง และการพัฒนา Application Thai CKD Risk Calculation

ผู้แต่ง

  • วสุอนันต์ ทองดี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
  • บรรจง กิตติสว่างวงค์ โรงพยาบาลน่าน
  • จินตนา ทองดี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว
  • ประสิทธิ์ หมั่นดี ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ชุมชน คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต, โรคไตเสื่อมเรื้อรัง, การพยากรณ์, การป้องกัน

บทคัดย่อ

อัตราเฉลี่ยประมาณการกรองผ่านไต (estimated glomerular filtration rate: eGFR) เป็นพารามิเตอร์ทางสุขภาพที่สามารถบ่งบอกการทำหน้าที่ของไตเพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคไต โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องมีการคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเสื่อมแบบเรื้อรัง (chronic kidney diseases: CKD) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ประเมินการลดลงของค่า eGFR โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนหลัง (retrospective analytic studies) และใช้การศึกษาแบบ cross sectional study เพื่อการศึกษาการลดลงของอัตราการกรองผ่านไต (estimated glomerular filtration rate) ในการพยากรณ์ภาวะโรคไตเสื่อมเรื้องรัง (CKD) ในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพดีทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุตั้งแต่  18  ปีขึ้นไป  และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  โดยศึกษาวิเคราะห์จากผลตรวจสุขภาพประจำปี  ตั้งแต่ปี  2555-2558  ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว  จังหวัดน่าน จำนวน 5,263 ราย โดยค่า eGFR คำนวณจากสมการของ chronic kidney disease epidemiology (CKD-EPI) จากการศึกษากลุ่มประชากรที่มีสุขภาพดี  พบว่าค่าอ้างอิงเฉลี่ยการลดลงของค่า  eGFR  ในเพศชายเท่ากับ  1.20±0.60 ml/min/1.73 m2/year ในเพศหญิงเท่ากับ 1.42±0.71 ml/min/1.73 m2/year และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ค่า-อ้างอิงเฉลี่ยการลดลงของค่า eGFR ทั้งเพศชายและเพศหญิงเท่ากับ 3.96±1.98 ml/min/1.73 m2/year การศึกษานี้ยังสามารถใช้ค่าอ้างอิงของ eGFR ที่ได้ในการประเมินการลดลงของค่า eGFR เป็นข้อมูลการพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อเฝ้าระวังและติดตาม  eGFR  ในการพยากรณ์ภาวะโรคไตเสื่อมเรื้องรัง  (CKD)  กลุ่มประชากรที่มีสุขภาพดีและกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เพื่อการป้องกันระยะยาวการเกิดโรคไตเสื่อมเรื้อรังต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้