การเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวข้อไหล่ในทุกทิศทาง ระหว่างผู้ป่วยข้อไหล่ติดรั้ง (Adhesive Capsulitis) กับผู้ป่วยปวดไหล่จากสาเหตุอื่น

ผู้แต่ง

  • ภัทรจรี จันทร์ศิริ ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สราวุธ สุวรรณรัตน์ ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ข้อไหล่ติดรั้ง, ช่วงการเคลื่อนไหว, ปวดไหล่, เยื่อหุ้มข้อไหล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในผู้ป่วยข้อไหล่ติดรั้ง (adhesive capsulitis) กับผู้ป่วยปวดไหล่จากสาเหตุอื่นๆ โดยใช้ข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัดใน ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อไหล่ของศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 155 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยข้อไหล่ติดรั้ง 55 ราย และผู้ป่วยปวดไหล่จากสาเหตุอื่นๆ 100 ราย ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อไหล่ติดรั้ง มีการจำกัดการเคลื่อนไหวในทุกทิศทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และส่วนใหญ่เกิดการติดรั้งของเยื่อหุ้มรอบข้อไหล่ในทุกด้านเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยปวดไหล่จากสาเหตุอื่นๆ โดยเกิดการลดลงของการเคลื่อนไหวในทิศทางเหยียดแขนไปทางด้านหลัง (extension) มากที่สุด รองลงมาเป็น หมุนแขนเข้าหาลำตัว (internal rotation) หมุนแขนออกจากลำตัว (external rotation) กางแขน (abduction) และยกแขนไปทางด้านหน้า (flexion) ตามลำดับ ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อไหล่ติดรั้ง นักกายภาพบำบัดจึงควรตระหนักเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางรวมทั้งการติดรั้งของเยื่อหุ้มข้อไหล่ทุกด้าน เพื่อการตรวจประเมินและการวางแผนการรักษาได้อย่างครอบคลุมและเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้