การบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พระราชบัญญัติ, สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ, สปา, นวดไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 และทบทวนปัญหาอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติฯ ดำเนินการโดยการทบทวนกฎหมายและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และจากเอกสารการประชุมของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่  ผู้รับอนุญาต  ผู้ดำเนินการ  และผู้ให้บริการ  รวมถึงการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการบังคับใช้พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559มีการออกอนุบัญญัติ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อลดปัญหาบางส่วนในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ รวม 17 ฉบับ มีกิจการที่ต้องขออนุญาตประกอบด้วยกิจการสปา นวดเพื่อสุขภาพและนวดเพื่อเสริมความงาม โดยมีผู้รับอนุญาตประกอบกิจการทั้งสิ้นจำนวน 7,102 ราย จากผู้ยื่นขอใบอนุญาตจำนวน 8,293 ราย คิดเป็นร้อยละ 85.64 ส่วนใหญ่เป็นกิจการนวดเพื่อสุขภาพ ในขณะที่จำนวนผู้ดำเนินการสปาที่ได้รับใบอนุญาตมีจำนวนทั้งสิ้น 4,105 ราย โดยเป็นผู้ยื่นขออนุญาตตามบทเฉพาะกาลจำนวน 2,759 ราย และเป็นผู้ที่สอบผ่านตามประกาศคณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จำนวน  2,414  ราย  ส่วนผู้ให้บริการที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวนทั้งสิ้น  87,677  รายโดยขึ้นทะเบียนที่กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้ให้บริการมีคุณภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติฯ ยังมีการรับรองหลักสูตรของสถาบันการศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 539 ลำดับหลักสูตร จากจำนวน 222 สถาบัน และในการจัดประชุมชี้แจงการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ  ให้กับสาธารณชน  พบว่า  ทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่  ผู้ให้บริการ  ผู้ดำเนินการ และผู้ประกอบการยังคงมีข้อคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ อยู่หลายประเด็น จากผลการศึกษาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ยังไม่ได้ขอรับใบอนุญาตให้เข้ามาขอรับใบอนุญาตโดยเร่งด่วนและดำเนินคดีอาญากรณีที่สถานประกอบการเพื่อสุขภาพไม่มีใบอนุญาต  รวมทั้งควรส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นคุณภาพและมีระบบการติดตามผลหลังการศึกษา  เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้ให้บริการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ