การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขระดับพื้นที่จากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ระดับประเทศ ปี 2562

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • จุฬาพร กระเทศ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, บุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลงานวิชาการ/วิจัยให้ได้คุณภาพ  สามารถนำไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานสาธารณสุข การศึกษาครั้งนี้เป็น การวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research: R2R) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ตามแนวความคิดเชิงคุณภาพ และใช้กระบวนการ PAOR (Plan-Action-Observation-Reflection) ช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2562 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิจัยหน้าใหม่ที่มีผลงานวิชาการ/วิจัย R2R และผ่านการคัดเลือกเป็นผลงานวิชาการ/วิจัย R2R ดีเด่น จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย  เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ  แบบสังเกตพฤติกรรม  แบบสัมภาษณ์  และแบบบันทึกข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสาธารณสุข จำแนกเป็นระดับปฐมภูมิ 7 รางวัล ระดับทุติยภูมิ 5 รางวัล ระดับตติยภูมิ 7 รางวัล ระดับสนับสนุนบริหารและสนับสนุนบริการ 7 รางวัล ระดับนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ 4 รางวัล ระดับ Meta R2R 8 รางวัล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 76.00 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 50.00 รองลงมา ปริญญาโทร้อยละ 34.21 ตำแหน่งทางวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 57.89 และสถานที่ปฏิบัติงานของนักวิจัยหน้าใหม่ ส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ร้อยละ 39.47 รองลงมา ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 36.84 การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ตามประเด็นเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน พบว่า จุดเด่นของงานวิจัย  R2R  คือ  เป็นงานวิจัยที่เกิดจากปัญหาหน้างานที่ต้องการการพัฒนาเพื่อหารูปแบบและแนวทางใหม่ในการให้บริการผู้ป่วย  การเรียนรู้ที่ได้จากงานวิจัย  คือ  การนำผลที่ได้จากการวิจัยในผู้ป่วยที่มารับบริการจริงมาปรับใช้ในกระบวนการทำงาน  สามารถเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม  แรงบันดาลใจในการทำวิจัยครั้งนี้เกิดจากการได้เห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  ที่เป็นอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์  ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อองค์กรจากการทำงาน  คือ  บุคลากรในองค์กรมีสมรรถนะและศักยภาพในการพัฒนาระบบบริการ  สามารถประยุกต์ใช้ผลการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับบริบทงานและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายได้ นอกจากนี้พบว่า ประเด็นที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบงานที่ชัดเจน ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนางาน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านผู้รับบริการ การสนับสนุนและบทบาทที่สำคัญของผู้บริหารในการพัฒนา งานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ การสนับสนุนด้านนโยบาย การสนับสนุนด้านงบประมาณ และการสร้างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ดังนั้น การทำให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนจะทำให้ R2R สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้