การรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เอี่ยมกุลวรพงษ์ โรงพยาบาลมาบตาพด ระยอง

คำสำคัญ:

เบนซีน, ผลกระทบต่อสุขภาพ, มาบตาพุด, ประชาชน, นักเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ครั้งนี้ เพื่อประเมินการรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 1) แบบ สัมภาษณ์ 2) เจาะเลือดตรวจหาความสมบูรณ์ของเลือด การทำงานของไต การทำงานของตับ 3) เก็บ ปัสสาวะตรวจระดับกรดมิวโคนิก (ดัชนีชี้วัดการรับสัมผัสสารเบนซีน) และ4) กำหนดพิกัดด้วยสัญญาณดาวเทียม GPS เก็บข้อมูลในระยะเดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2553 จำนวน 10,238 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือประชาชน และนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มโดยใช้สถิติ chi square และหาความเสี่ยง ด้วย odds ratio และ 95%1

การศึกษาในประชาชน 6,733 คนพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.6 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 46 ปีอาศัยอยู่ในตำบลเนินพระ (21.7%) และตำบลมาบตาพุดมากที่สุด (21.4) โดยเฉลี่ยอาศัยอยู่ห่างจากขอบ นิคมอุตสาหกรรม 5.12 กิโลเมตร ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ปรกติ เมื่อเปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนพบว่า ระดับกรดมิวโคนิกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในปัจจัย ระยะห่างจาก นิคมอุตสาหกรรมถึงบ้าน เพศ อายุ การทำงานสัมผัสสารอินทรีย์ระเหย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการศึกษาในนักเรียน 3,505 คนพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ50.8 อายุเฉลี่ย 13 ปี อาศัยอยู่ในตำบลมาบตาพุดมากที่สุด (32.4%6) รองลงมาคือ ตำบลห้วยโป่ง (30.2%) อยู่ในพื้นที่เขตควบคุมมลพิมมากกว่า 10 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 82.7 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นปรกติ เมื่อเปรียบเทียบการรับสัมผัสสารเบนซีนพบว่า ระดับกรดมิวโคนิกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในปัจจัย ระยะห่างจากนิคมอุตสาหกรรมถึงโรงเรียน เพศ อายุ

ดังนั้นข้อแนะนำจึงควรมีนโยบายการปรับลดการระบายสารมลพิษจากแหล่งกำเนิด เข้มงวดกับการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ระบายออก และควบคุมที่แหล่งกำเนิด จัดทำเขตแนวกันชน (buffer zone) อย่างจริงจังและชัดเจนมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-07

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ