ปัจจัยเสี่ยงของมารดากับทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยง, ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยบทคัดย่อ
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ปัญหาดังกล่าวทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสุ่มตัวอย่างมารดาที่มาคลอดทารกแรกเกิดมีชีพในโรงพยาบาลคูเมือง จำนวน 240 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มมารดาที่มีอายุครรภ์ขณะคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ มีความเสี่ยงที่จะคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ประมาณ 5.85 เท่า (95% CI = 1.98 ถึง 13.32)เทียบกับกลุ่มมารดาที่มีอายุครรภ์ขณะคลอด ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ ขึ้นไป และ กลุ่มมารดาที่มีค่าฮีมาโตคริตน้อยกว่า 33% มีความเสี่ยงที่จะคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ประมาณ 3.12 เท่า (95% CI = 1.47 ถึง 6.62) เทียบกับกลุ่มมารดาที่มีค่าฮีมาโตคริต ตั้งแต่ 33% ขึ้นไป ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือควรประชาสัมพันธ์เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพตั้งแต่ไตรมาสแรก เพื่อให้ทราบอายุครรภ์ที่แน่นอน การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินอายุทารกในครรภ์ ให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ทำการยับยั้งการคลอดหากหญิงตั้งครรภ์มีอาการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด รวมถึงส่งเสริมการให้อาหารเสริมในระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.