การขับเคลื่อนโครงการ “3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” ของสาธารณสุขอำเภอ: การวิจัยเชิงคุณภาพ
คำสำคัญ:
การขับเคลื่อน, สาธารณสุขอำเภอ, เลิกบุหรี่บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของสาธารณสุขอำเภอในการขับเคลื่อนโครงการ “3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน” เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีจำนวน 14 คน ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลโดยการชี้แจงข้อมูลการวิจัย ขอความยินยอม และสนทนาแบบกลุ่ม (focus group) จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 90 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีประสบการณ์ในการขับเคลื่อนโครงการ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ประสบการณ์การขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จ โดยการทำต่อเนื่องจากโครงการที่ทำอยู่เดิม เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนโครงการ การร่วมมือทำของสาธารณสุขอำเภอและการเลิกบุหรี่เป็นตัวอย่าง และการสร้างกิจกรรมที่โดดเด่นโดยการจัดกิจกรรม ปั่นจักรยานทั่วประเทศ (2) ประสบการณ์การค้นพบปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือการที่โครงการนี้เป็นโครงการเทิดพระ-เกียรติ และ (3) ประสบการณ์ในการก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรค โดยการเสนอให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้เลิกบุหรี่ในฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ การบริหารจัดการงบประมาณตามบริบท ของพื้นที่ และการบริหารจัดการบุคลากรให้สามารถดำเนินโครงการได้ จากผลการวิจัย ควรสนับสนุนให้หน่วยงานดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องโดยการบูรณาการกับงานประจำ จัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน มีระบบข้อมูลของผู้เลิกบุหรี่เพื่อการติดตาม สนับสนุนให้สามารถเลิกได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักสถิติสังคม. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น; 2559.
โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน. ยอดรวมผู้สมัครใจเลิกสูบบุหรี่ทั้งหมด [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล:http://www.quitforking.com/defaults/summary#overall
โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน. ข้อมูลผู้สมัครใจเลิกบุหรี่ โครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.quitforking.com/
van Manen M. Researching lived experience: Human science for an action sensitive pedagogy. Albany,N.Y.: State University of New York Press; 1990.
Creswell JW. Qualitative inquiry and research design: qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. Thousand Oaks, CA: Sage; 2009.
Stufflebeam DL, Coryn CLS. Evaluation theory, models and applications. San Francisco: Jossey-Bass; 2007.
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. ราชกิจ-จานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 39 ก (ลงวันที่ 5 เมษายน 2560).
จุมพล หนิมพานิช. เอกสารการสอนชุดวิชา การวางนโยบาย โครงการ และการบริหารโครงการ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
งามจิตต์ จันทรสาธิต. เอกสารการสอนชุดวิชา การวางแผนงานสาธารณสุขในชุมชน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์. เอกสารการสอนชุดวิชา การวางนโยบาย โครงการ และการบริหารโครงการ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.
จรวยพร ธรณินทร์. การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบเครือข่าย. การประชุมการศึกษานอกโรงเรียน;25 ตุลาคม 2550; โรงแรมรามาการ์เดน กรุงเทพมหานคร; 2550.
ศิริพร สอนไชยา. ปัจจัยด้านพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานของบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ-มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2557. 85 หน้า.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย; 2559.
จักรรัฐ ผาลา, มนสิชา เพชรานนท์. การศึกษาพฤติกรรมเดินทางของผู้ใช้จักรยาน เพื่อหาแนวทางสนับสนุนให้เลือกใช้จักรยานในเขตเมืองขอนแก่น. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 15(2):103-16.
ปุณยนุช รุธิรโก. ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการเดินและการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และเทศบาลเมืองคอหงส์อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;38(1):54-70.
สิทธิโชค วรานุสันติกูล. จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2554.
ชาตรี โชไชย. แนวทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมเชิงบูรณาการ: ศึกษากรณีการเชื่อมโยงข้อมูลกระบวนการยุติธรรม [รายงานการวิจัยหลักสูตรผู้บริหารการยุติธรรมระดับสูง]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลยุติธรรม; 2547. 55 หน้า.
รัตนา พงศ์สิงห์. คู่มือการปฏิบัติงานงานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2559.
อารยา ประเสริฐชัย, อรวรรณ น้อยวัฒน์. เอกสารการสอนชุดวิชาการวางแผนงานสาธารณสุขในชุมชน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.