นโยบายลดผลกระทบจากการสื่อสารการตลาด ที่มีต่อเด็กอายุน้อยกว่า 16 ปี

ผู้แต่ง

  • กัญญาพัชร สุทธิเกษม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี, ผลกระทบจากการสื่อสารการตลาด, โรคอ้วน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการควบคุมการสื่อสารการตลาดของอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อเด็กอายุต่ำกว่า 16 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเป็นโรคอ้วนสูง นโยบายและมาตรการควบคุมการสื่อสารการตลาด เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบจากการตลาดของอาหารที่มุ่งเป้าไปสู่เด็กได้ เพราะเด็กมีความเปราะบางต่อสื่อโฆษณาและการตลาด ไม่สามารถแยกแยะหรือวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง จึงมักตกเป็นเป้ าหมายของการสื่อสารการตลาดของอาหารและเครื่องดื่ม และอาจได้รับผลกระทบทั้งปัญหาสุขภาพ และพฤติกรรมในระยะยาว ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีมาตรการที่จะปกป้ องเด็กจากการสื่อสารการตลาดอย่างจริงจัง มีเพียงพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและการจำกัดการโฆษณาเท่านั้น สำหรับต่างประเทศขานรับนโยบายจากองค์การอนามัยโลกมีการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ จำนวนมาก ในช่วงปี 2010 แต่จากผลการประเมินขององค์การอนามัยโลกพบว่า นโยบายการควบคุมการสื่อสารการตลาดใน 59 ประเทศ มีความก้าวหน้าน้อยมาก และไม่มีรัฐบาลในประเทศใดที่ผลักดันนโยบายที่เน้นในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ทั้งๆที่ปัญหาโรคอ้วนระบาดอย่างมากในกลุ่มเด็กที่อายุระหว่าง 12-16 ปี ทั้งนี้ นโยบาย มาตรการ หรือ กฎหมาย ข้อบังคับ ควรเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ประเทศสิงคโปร์ที่มีการผลักดันนโยบายจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ด้วยการมุ่งเป้ าหมายเดียวกัน คือ สุขภาวะของเด็ก ซึ่งมีผลดีในแง่ที่ทำให้ทุกฝ่ ายตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องเด็ก และมีความรับผิดชอบร่วมกัน และนโยบายนั้นอาจไม่จำเป็นต้องเข้มงวดมากจนฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งรู้สึกเสียประโยชน์มากเกินไป แต่ให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งในแง่นี้ ทำให้ไม่เกิดการละเมิดหรือใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในการกระทำผิด นโยบายต้องสอดรับกับสภาพปัญหา และปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของการตลาดอาหารที่เปลี่ยนรูปแบบและกลยุทธ์ตลอดเวลา รวมถึงครอบคลุมการตลาดทุกรูปแบบด้วย บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม (systematic review) ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการและนโยบายการควบคุมการสื่อสารการตลาดในกลุ่มเด็กที่รัฐเป็นผู้กำหนด โดยศึกษาจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องระหว่างปี 2007-2017 ในระดับโลกและประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Wilcox LB, Kunkel D, Cantor J, Dowrick P, Linn S, Palmer E. Report of the APA task force on advertising and children. American Psychological Association. Pub-lic Affairs Office [Internet]. 2004 [cited 2017 Aug 12]. Available from: https://www.apa.org/pi/families/re-sources/advertising-children.pdf

Leigh G. Food advertising policy in the United States. [Internet]. International Food Policy Research Institute. 2007 [cited 2017 Aug 15]. Available from: http://www.foodsecurityportal.org/sites/default/files/FoodAd-vertisingPolicy.pdf

Rozendaal E, Reijmersdal EA, Buijzen M. Reconsidering advertising literacy as a defense against advertising effects. Media Psychology [Internet]. 2011 [cited 2017 Aug 28];14(4):333-54. Available from: http://www. tand-fonline. com/ doi/ full/ 10. 1080/15213269. 2011. 620540.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลสำคัญการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน; 2556 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.ryt9.com/s/nso/1747712

World Health Organization. Global strategy on diet, physical activity and health-2004 [Internet]. [cited 2017 Aug 15]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43035/9241592222_eng.pdf

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of non-communicable diseases 2013-2020 [Internet]. [cited 2017 Sep 20]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/94384/9789241506236_eng.pdf;jses-sionid=C1AA805572F3A9DF38448152C24661F5? sequence=1

Chou SY, Rashad I, Grossman M. Fast-Food restaurant advertising on television and Its influence on childhood obesity. Journal of Law & Economics 2008;51(4):599-618.

Veerman JL, Van Beeck EF, Barendregt JJ, Mackenbach JP. By how much would limiting TV food advertising reduce childhood obesity?. Eur J Public Health 2009; 19(4):365–9.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน. หลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปเกี่ยวกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน. อนุสัญญาว่า-ด้วยสิทธิเด็ก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ-สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ; 2530

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. จุดเปลี่ยนการตลาดอาหารเด็กในประเทศแคนาดา [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [สืบค้นเมื่อ 13 ต.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://tinyurl.com/s8lpxsx

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. ที่มา Milk code; 2560. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล:https://thaibf.com/%E0%B8%97%E08%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2-milk-code/

World Health Organization. Resolution of the Sixty-Third World Health Assembly adopted 21 May 2010: WHA63.14. Marketing of food and non-alcoholic bev-erages to children, set of recommendations on the mar-keting of foods and non-alcoholic beverages to children [Internet]. [cited 2017 Sep 25]. Available from: https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA63-REC1/WHA63_REC1-en.pdf

Australian National Preventive Health Agency. Australian national preventive health agency strategic plan 2011–2015 [Internet]. [cited 2017 Sep 20]. Available from: http://www.nationalplanningcycles.org/sites/default/files/country_docs/Australia/strategic_plan_2011-2015.pdf

Swinburn B, Wood A. Progress on obesity prevention over 20 years in Australia and New Zealand. Obes Rev [Internet]. 2013 [cited 2017 Sep 17];14(Suppl 2): 60-8. Available from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/obr.12103

World Health Organization. Reducing the marketing of unhealthy foods to children [Internet]. [cited 2017 Sep 20]. Available from: http://www.who.int/chp/media/news/releases/2011_1_marketing/en/.

Kraak VI, Vandevijvere S, Sacks G, Brinsden H, Hawkes C, Barquera S, et al. Progress achieved in restricting the marketing of high-fat, sugary and salty food and bever-age products to children. Bull World Health Organ 2016;94(7):540-8.

Sandelson D, Hiester E. Communications Act 2003: The highlights [Internet]. Thomson Reuters Practical Law. 2003 [cited 2017 Mar 28]. Available from: file:///C:/Users/kanyapat/Downloads/Communications%20Act%202003%20The%20highlights.pdf

Reynolds J. New restrictions on HFSS ads aimed at children in UK [Internet]. [cited 2017 Feb 24]. Available from: http://www.foodingredientsfirst.com/news/Ne-wRestrictionsonHFSSAdsAimedatChildreninUK?

Harris JL, Bargh JA, Brownell KD. Priming effects of television food advertising on eating behavior. Health Psychol [Internet]. 2009 [cited 2017 Aug 21]; 28(4): 404-13. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19594263

Ministry of Health, Singapore. Press release by the Com-mittee on Guideline for Food Advertising to Children. Food and media industries to comply with guidelines for food advertising to children from 1 January 2015 [In-ternet]. 2015 [cited 2017 Jul 5]. Available from: https://asas.org.sg/Portals/0/Images/ASAS/news/Children_Code/Press_release_Food_advertising_guidelines_for_children.pdf

สำนักข่าวอิศรา. ศูนย์เด็กเล็กอ่อนหวาน ร.ร.ปลอดน้ำอัดลม สู่ตำบล “ดื่มน้ำเปล่า” แห่งแรกเริ่มที่บุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://www.isranews.org/thaireform-other-news/37363-burirum.html

European Commission. School food policy country fact-sheets [Internet]. [cited 2017 Aug 28]. Available from: http://www.schoolfoodplan.com/wp-content/up-loads/2014/09/School-Food-Standards-Guidance-FINAL-140911-V2C.pdf

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. เอกสารการศึกษาวิวัฒนาการ การบังคับใช้ กฎหมายและมาตรการที่กี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล; 2557 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://ihppthaigov.net/DB/publication/attachre-search/333/chapter6.pdf

นงนุช ใจชื่น, สิรินทร์ยา พูลเกิด, ทักษพล ธรรมรังสี. วิวัฒนาการของกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและโซเดียมสูงของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558; 9(1):80-97.

นงนุช ใจชื่น, วาทินี คุณเผือก, สิรินทร์ยา พูลเกิด, ทักษพล ธรรมรังสี. ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ตามชุดข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก. วารสารวิจัยระบบ-สาธารณสุข 2558;9(3):213-26.

คณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 16 ส.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d042659-02.pdf

National Statistical Office and United Nations Children’s Fund.Thailand 14 provinces multiple indicator cluster survey 2015-2016. Final Report. [Internet]. NSO and UNICEF, Bangkok; 2017 [cited 2017 Aug 5]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/media/231/file/Thailand%2014%20Provinces%20Multiple%20Indicator%20Cluster%20Survey%20(MICS)%202015-2016.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

วิธีการอ้างอิง