ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยของหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ในโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ พยุหเสนารักษ์ โรงพยาบาลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง กระทวงสาธารณสุข
  • โสพิศ ปุรินทราภิบาล โรงพยาบาลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง กระทวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, หญิงตั้งครรภ, ทารกน้ำหนักน้อย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุม และแก้ไขปัญหาการเกิดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย รวมถึงนำไปวางแผนพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กต่อไป การศึกษาครั้งนี้ ได้รวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์กับโรงพยาบาลวังวิเศษ จังหวัดตรัง และคลอดใน ปี พ.ศ. 2559-2561 จำนวน 422 คน โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยข้อมูลเบื้องต้นของมารดา ได้แก่อายุ น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์ การศึกษา อาชีพ ศาสนา สถานภาพสมรส ประวัติการแท้ง การคลอดบุตรและโรคประจำตัว ปัจจัยด้านการดูแลขณะตั้งครรภ์ เช่น อายุครรภ์ขณะฝากครรภ์ครั้งแรก น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงขณะฝากครรภ์ครั้งแรก ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงก่อนคลอด โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ อายุครรภ์ขณะคลอด เป็นต้น และตัวแปรตาม ได้แก่ น้ำหนักของทารกแรกเกิด ผลการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.3 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีอาชีพรับจ้าง นับถือศาสนาพุทธ อยู่กินกับสามีร้อยละ 97.8 เป็นการคลอดบุตรครั้งแรก ร้อยละ 36.3 มีประวัติการแท้งร้อยละ 10.8 โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือโรคไทรอยด์เป็นพิษ ร้อยละ 0.9 รองลงมาคือโรคโลหิตจาง ร้อยละ 0.4 การฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ 39.0 น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 45 กิโลกรัมร้อยละ 7.6 ฝากครรภ์ 4 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 87.4 ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงก่อนคลอดต่ำกว่า 33% ร้อยละ 42.2 ทุกรายไม่มีโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ อายุครรภ์ขณะคลอดต่ำกว่า 36 สัปดาห์ ร้อยละ 9.0 น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม ร้อยละ 35.4 อัตราอุบัติการณ์การเกิดทารกน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 9.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05 คือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม (p=0.001, Odds ratio=23.603, 95%CI=3.644-45.578) จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ (p=0.001, Odds ratio=7.923, 95%CI=2.916-21.529) อายุครรภ์ขณะคลอดในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (p=0.001, Odds ratio=7.870, 95%CI=2.681-23.105) ฉะนั้นการป้ องกันการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ควรจะเน้นการเตรียมตัวมารดาก่อนการตั้งครรภ์ให้มีการดูแลก่อนคลอดให้หญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม การมาฝากครรภ์ให้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดมากกว่า 4 ครั้งขึ้นไป และการดูแลและเฝ้ าระวังให้อายุครรภ์ขณะคลอดได้ 37 สัปดาห์ขึ้นไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Awoleke JO. Maternal risk factors for low birth weight babies in Lagos, Nigeria. Arch Gynecol Obstet 2012; 285(1):1-6.

นิพรรณพร วรมงคล. สถานการณ์เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2547.

สำนักส่งเสริมสุขภาพอนามัย กรมอนามัย .ข้อมูลทารกต่ำกว่าเกณฑ์ [อินเทอร์เน็ต]. กรมอนามัย; 2561 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbw/index?year=2018

ถวัลย์วงศ์ รัตนสิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ-มหานคร: พิมพ์ดี; 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. ฐานข้อมูลทั่วไปของจังหวัดตรัง [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง; 2561 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://trg.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สินชัย รองเดช, อนันต์ อัครสุวรรณกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการคลอดทารกน้ำหนักน้อยของหญิงฝากครรภ์ในโรงพยาบาล-ย่านตาขาว จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556; 22(1):113-21.

นงลักษณ์ ทองโต. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ประชากรศาสตร์].กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554. 94 หน้า.

ภัทรวดี อัญชลีชไมกร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด น้ำหนักน้อย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี.สุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2551; 21(1):71-80.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

วิธีการอ้างอิง