การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการป้องกันและควบคุม โรคชิคุนกุนยา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุปรีซา แก้วสวัสดิ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • สาโรจน์ เพชรมณี สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • นัทพงศ์ จันทมาศ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การป้องกันและควบคุมโรค, โรคไข้ปวดข้อยุงลาย, โรคชิคุนกุนยา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยาในชุมชนโดยการศึกษาสภาพการณ์และสาเหตุที่แท้จริง ในพื้นที่หมู่ที่ 8 (บ้านหนับเภา) และหมู่ที่ 9 (บ้านประดู่หอม) ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชดำเนินการ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2555 - มกราคม พ.ศ.2556 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม หมู่บ้านละ 38 คน รวม 76 คน เขารวมกิจกรรมการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการการฝึกอบรม การระดมความคิด การอภิปรายกลุ่ม กรณีศึกษาและการบรรยาย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการประเมินดัชนีชี้ลูกน้ำกระบวนการดำเนินการมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมการก่อนการวิจัยโดยการศึกษาสภาพการณ์เบื้องต้นของปัญหาสุขภาพชุมชนและใช้กระบวนการวินิจฉัย ชุมชนในการระบุประเด็นปัญหาทั้ง 14 หมู่บ้าน ระยะที่ 2 ขั้นตอนการทำความเข้าใจสถานการณ์ ระยะที่ 3การดำเนินการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการป้องกันโรคไข้ปวดข้อ โดยใช้รูปแบบ Appreciation Influence Control (AIC) พัฒนาความรู้เรื่องโรคไข้ปวดข้อ พัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม การสนทนากลุ่มกระตุ้นผู้เข้าร่วมกิจกรรม นำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการ วิเคราะห์ความเป็นได้ในการดำเนินงานตามแผนแก่ผู้วิจัยโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ประดูหอมและองค์การบริหารสวนตำบลทาขึ้น ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว ระยะที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงานโดยผู้วิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพสต.ประดู่หอม และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นพบว่า การพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชนทำให้มีโครงการการป้องกันโรคไข้ปวดข้อโดยชุมชนจำนวน 2 โครงการ โดยหมู่ที่ 8 จัดรณรงค์เคาะประตูบ้านเพื่อกระตุ้นการตื่นตัว หมู่ที่ 9 จัดรณรงค์เพื่อสร้างกระแสการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ โดยเยาวชนในโรงเรียนรวมด้วย หลังดำเนินการ ไม่มีประชาชนป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาเกิดขึ้นอีกในทั้ง 2 หมู่บาน เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินการของ 2 หมู่บ้าน มีสัดส่วนการตรวจพบลูกน้ำไม่แตกต่างกัน ผลจากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เกิดแนวทางการพัฒนา ศักยภาพของกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการมีส่วนร่วมและการประสานการทำงานของผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน และทำให้เกิดพลังชุมชนที่สามารถร่วมกันป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายในชุมชนได้ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-12

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้