ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยาของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ตอนบนปี 2560
คำสำคัญ:
โรคเลปโตสไปโรสิส, การระบาด, อุทกภัย, ภาคใต้ตอนบน, ประเทศไทยบทคัดย่อ
วันที่ 4 มกราคม 2560 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ภายหลังน้ำลด จำนวนผู้ป่ วยสงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสในจังหวัดนครศรีธรรมราชและกระบี่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีรายงานผู้เสียชีวิต 5 ราย ทีมสอบสวนโรคจึงดำเนินการสอบสวนโรคในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยทางคลินิกและการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสหลังเกิดอุทกภัย ศึกษาลักษณะทางคลินิก การระบาด และพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่ วย เพื่อเสนอแนะแนวทางการวินิจฉัย เฝ้าระวัง ป้ องกันควบคุมโรคที่จำเพาะแก่พื้นที่ โดยกำหนดนิยามผู้ป่ วยสงสัยคือ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราชและกระบี่ที่มีอาการไข้ร่วมกับอย่างน้อย 2 อาการต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดน่อง ตัวเหลืองตาเหลือง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์ 2560 สัมภาษณ์พฤติกรรมเสี่ยง และเก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยันด้วยวิธี MAT, IFA, ELISA, PCR หรือ culture เก็บตัวอย่างสัตว์รังโรค ดิน น้ำ ละแวกบ้านผู้ป่ วยตรวจด้วยวิธี PCR, MAT และ culture ผลการศึกษา พบผู้ป่ วยรวม 151 ราย เสียชีวิต 5 ราย อัตราป่ วยตาย ร้อยละ 3.3 เป็นผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่ วยน่าจะเป็น และผู้ทีอาการสงสัย ร้อยละ 30.4, 13.9 และ 55.7 ตามลำดับ เพศชาย ร้อยละ 79.5 ค่ามัธยฐานอายุ 40 ปี (พิสัย 7, 80) จากนครศรีธรรมราช 89 ราย กระบี่ 62 ราย ผู้ป่ วยมีอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ ร้อยละ 98.7, 81.3 และ 78.1 ผู้ป่ วยยืนยันให้ผลบวกด้วย rapid test ร้อยละ 48.8 ผลตรวจ CBC พบ platelet, WBC, hematocrit, neutrophil, lymphocyte, monocyte และ eosinophil ผิดปกติ ร้อยละ 34.2, 25.7, 33.1, 37.8, 33.1, 21.0 และ 18.2 ตามลำดับ ผลตรวจการทำงานของไตพบ BUN และ creatinine สูงขึ้นผิดปกติ ร้อยละ 83.2 และ 79.1 ผลตรวจการทำงานของตับพบ Albumin, Globulin, Total Bilirubin, Direct Bilirubin, AST, ALT และ ALP สูงขึ้นผิดปกติ ร้อยละ 85.1, 37.2, 79.1, 75.7, 61.1, 50.2 และ 40.5 ผลตรวจเอนไซม์ CPK พบสูงขึ้นผิดปกติ ร้อยละ 8.2 และพบภาพถ่ายรังสีปอดผิดปกติ ร้อยละ 3.7 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ สัมผัสกับน้ำหรือโคลน ไม่สวมรองเท้าบูท และแช่น้ำเกิน 6 ชั่วโมง ร้อยละ 96.9, 84.4, และ 81.3 พบ Serovar Shermani มากที่สุดทั้งในผู้ป่ วยและสัตว์รังโรค และพบเชื้อเลปโตสไปร่าในดินละแวกบ้านผู้ป่ วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันว่ามีการระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่หลังเกิดอุทกภัย พฤติกรรมผู้ป่ วยมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรค ผลตรวจ CBC ในผู้ป่ วยส่วนใหญ่ปกติ แต่พบความผิดปกติการทำงานของตับและไตอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ได้จัดตั้งระบบเฝ้ าระวังพิเศษในช่วง 1 เดือนหลังน้ำท่วม และเสนอแนะให้แพทย์เฝ้ าระวังผู้ป่วยในพื้นที่โดยใช้อาการทางคลินิกและประวัติเสี่ยง ร่วมกับผล Rapid test ช่วยในการวินิจฉัยโรคและรักษาทันที เพื่อลดโอกาสเสียชีวิต
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ยุพิน ศุพุทธมงคล, ปัทมา เอกโพธิ์, พิมพ์ใจ นัยโกวิท, พลายยงค์ สการะเศรณี, รัตนา ธีระวัฒน์. คู่มือวิชาการ โรคเลปโตสไปโรสิส. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์-การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
ดิเรก สุดแดน, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, มนูศิลป์ ศิริมาตย์, นิคม สุนทร, ไพบูลย์ทนันไชย, สลักจิต ชุติพงษ์วิเวท, และคณะ.ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นโรคฉี่หนูหลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่จังหวัดน่าน สิงหาคม - กันยายน ปี 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551;39:162-5.
ดิเรก สุดแดน, ถนอม น้อยหมอ, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, มนูศิลป์ ศิริมาตย์, ไพบูลย์ทนันไชย, สลักจิต ชุติพงษ์วิเวท และคณะ. การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของโรคฉี่หนูในประเทศไทย จากอุทกภัย เดือนสิงหาคม - กันยายน 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2550;38:885-90.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 จังหวัดสงขลา. ซีโรกรุ๊ปของเชื้อเลปโตสไปราที่ระบาดในพื้นที่จังหวัดสงขลาหลังน้ำท่วม ปี 2553 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ส.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.rmscsongkhla.go.th/document
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิสในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปี 2560. นครศรีธรรมราช: สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 11; 2560.
Gamage CD, Tamashiro H, Ohnishi M, Koizumi N. Epidemiology, surveillance and laboratory diagnosis of Llptospirosis in the WHO South-East Asia Region. Intech Open [Internet]. [cited 2017Aug 22]. Available from: https://www.intechopen.com/books/zoonosis/epidemi-ology-surveillance-and-laboratory-diagnosis-of-lepto-spirosis-in-the-who-south-east-asia-regio
ดาริกา กิ่งเนตร. คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซิส. นนทบุรี: กรมควบคุมโรคติดต่อ; 2543.
สุรชัย จิตต์ดำรงค์, เอนก มุ่งอ้อมกลาง, เอมอร ไชยมงคล, ดวงใจ สุวรรณ์เจริญ, วราลักษณ์ ตังคณะกุล. การระบาดของโรคเลปโตสไปโรสิสในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอำเภอละงู จังหวัดสตูล พ.ศ. 2550. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2554;20(ฉบับเพิ่มเติมที่ 1): 104-14.
Daher EF, LimaI RSA, Silva Júnior GB, Silva EC, Kar-bage NNN, Kataoka RS, et al. Clinical presentation of leptospirosis: a retrospective study of 201 patients in a metropolitan city of Brazil. Braz J Infect Dis 2010; 14(1):3-10.
Dupont H, Dupont-Perdrizet D, Perie JL, Zehner-Han-sen S, Jarrige B, Daijardin JB. Leptospirosis: prognostic factors associated with mortality. Clin Infect Dis 1997;25(3):720–24.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.