การวิจัยประเมินผลโครงการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคจิตเวชในเขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
การวิจัยประเมินผล, โครงการพัฒนาระบบบริการ, ผู้ป่วยจิตเวช, เขตสุขภาพที่ 10บทคัดย่อ
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบบบริการผู้ป่วยจิตเวชสำหรับเขตสุขภาพที่ 10 มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคจิตเวชและให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการดำเนินโครงการในปี 2557 และเพื่อเป็นการวัดความสำเร็จของโครงการดังกล่าว จึงได้มีการประเมินผลเป็นรูปแบบการวิจัยประเมินผลโดยใช้ ซิปป์โมเดล ประเมินปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ รวมทั้งศึกษา ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะโครงการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคจิตเวช โดยวัดผลจากแพทย์ในโรงพยาบาลเครือข่าย 5 จังหวัด คือ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญและมุกดาหาร และเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีการวินิจฉัยอยู่ในกลุ่มโรคจิต (F20 -F 29) ที่กลับมารักษาซ้ำที่โรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - testเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านบริบท มีความสอดคล้องระหว่างความจำเป็นของการดำเนินโครงการ กับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาระบบ Service Planที่กำหนดลงมา ถึงระดับเขตสุขภาพ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสุขภาพจิต ในด้านเสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในการดำเนินงานสุขภาพจิต ตลอดจนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเพียงพอด้านงบประมาณ บุคลากร และสถานที่ เพราะมีต้นทุนจากโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและ จิตเวชของกรมสุขภาพจิตอยู่ก่อนแล้ว ด้านกระบวนการและผลลัพธ์ พบว่า แพทย์ที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตในโรงพยาบาลเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 10 มีความรู้เรื่องการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคจิตเวชเพิ่มขึ้น มีความมั่นใจในการ รักษาและส่งต่อผู้ป่วยโรคจิตเวชมากขึ้น มีความพึงพอใจต่อคู่มือการใช้ยาทางจิตเวชในระดับมากถึงมากที่สุดเป็น ส่วนใหญ่ และผลจากการวิจัยประเมินผลนี้ทำให้พบว่า ผู้ป่วยโรคจิตที่มารับการรักษาตามระบบดังกล่าว มีอาการดีขึ้น มีการมารับยาต่อเนื่องและการกลับเป็นซ้ำลดลง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.