การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและองค์กรในพื้นที่ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ณิชณิณ ภิวงศ์กำจร โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, คลินิกวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการป้ องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของครอบครัวชุมชนและองค์กรในพื้นที่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participation action research) ในพื้นที่ตำบลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการศึกษาระหว่าง พ.ศ.2557-2559 ผู้ร่วมศึกษาคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นค่อนข้างรุนแรง พบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดความตระหนักรู้ มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกยังไม่รู้จักวิธีการคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินพร่ำเพื่อ ค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การล่าแต้มโดยการนับเสื้อในการแข่งขันการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิง วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นตั้งแต่อายุ12 ปี ก่อนการศึกษาพบว่าความรู้ในการป้ องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับปานกลาง ร้อยละ 71.0 อัตราการสวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 53.5 ด้านครอบครัววัยรุ่นพบว่ายังขาดความรู้ทักษะการพูดคุยกับวัยรุ่น อายที่จะสอนเรื่องเพศกับลูก โรงเรียนสถานศึกษายังขาดการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาไม่รอบด้าน โรงพยาบาลจัดบริการที่ไม่ครอบคลุมวัยรุ่นเข้าถึงบริการยาก ชุมชนมองว่าเด็กเป็นตัวสร้างปัญหา ไม่มีการคืนข้อมูลขาดนโยบายและแผนงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จากการใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทีครอบคลุมทุกประเด็นปัญหา ได้แก่ ค่ายเยาวชนต้นแบบ สร้างจิตอาสาเพื่อนสอนเพื่อนพี่สอนน้อง กิจกรรมพ่อแม่และผู้ใหญ่ใจดี โครงการ Mobile-VCT คลินิกวัยรุ่น โรงเรียนเพศศึกษา โครงการฟื้ นฟูวิชาการเจ้าหน้าที่ การช่วยเหลือเยียวยาเด็กที่ได้รับผลกระทบ มีการระดมทุนจากภาคีเครือข่าย มีการบรรจุเข้าเทศบัญญัติและข้อบัญญัติท้องถิ่น เมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่ามุมมองเชิงบวกของครอบครัวและชุมชนต่อวัยรุ่นเพิ่มขึ้น ความรู้ทัศนะและพฤติกรรมทางเพศของเยาวชนพบว่าอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 89.6 พฤติกรรมสวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85.1 อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลง ปี 2557 - 2559 ดังนี้ 52.2, 48.2 และ 22.6 ตามลำดับ อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ปี 2557-2559 ร้อยละ 30.4, 18.1 และ 0.0 ตามลำดับ อัตราการคุมกำเนิดกึ่งถาวรในแม่วัยรุ่นหลังคลอดหรือยุติการตั้งครรภ์ ปี 2557-2559 ร้อยละ 23.0, 100.0 และ 100.0 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนโยบายแนวทางการดำเนินงานและการติดตามประเมินผล. นนทบุรี : สำนักงานนนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2557.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการจัดบริการที่เป็นมิตร. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

ทวีศักดิ์ นพเกษร. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โชคเจริญ; 2549.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

Smith WE. The AIC model concept and practice. Wash-ington DC: ODII Organizing for Development; 1991.

ชวนชัย เชื้อสาธุชน. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์; 2544.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์พริ้น; 2550.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2559.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ . The study of unwanted teenage pregnancies in Nakhon Phanom Province[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2556.

วิโรจน์ อารีย์กุล. การดูแลสุขภาพและการให้คำแนะนำวัยรุ่น.กรุงเทพมหานคร: กองกุมารแพทย์โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า; 2553.

องค์กรแพธ (PATH). แนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษารอบด้านในสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ; 2553.

มูลนิธิสถานบันวิจัยและพัฒนานโยบาย. คู่มือการจัดการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ป้องกันเอดส์ในกลุ่มเยาวชนสำหรับหน่วยงานระดับจังหวัดอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถานบันวิจัยและพัฒนานโยบาย; 2552.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง