ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน, คลินิกหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยทำการศึกษาในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว จำนวน 184 คน และได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป สถานภาพสมรส จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพใช้แรงงาน คะแนนความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักปฏิบัติตนตาม 3อ. 2ส. คะแนนการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อ และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้นหลังเข้าโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ธีระ วรธนารัตน์, สันต์ สัมปัตตะวนิช, นพพล วิทย์วรพงศ์. เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย; 2559.

ธีระ วรธนารัตน์, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, อรจิรา วงษ์ดนตรี. การทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557

Nutbeem D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine 2008;67:2072-8.

ยุวดี รอดจากภัย. การส่งเสริมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชลบุรี: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น; 2561.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. หลักสูตรการปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

Yamane T. Statistic: an introductory analysis. 2nd ed. New York: Happer and Row; 1967.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง-สาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดา-การพิมพ์; 2561.

Riangkam C, Wattanakitkrileart D, Ketcham A. Health Literacy, Self-Efficacy, Age and Visual Acuity Predicting on Self-Care Behaviors in Patients with Type 2 Diabetes. J Nurs Sci 2016;34(4):36-46.

Pannark P, Moolsart S, Kaewprom C. The Effectiveness of a Program for Health Literacy Development of the Patients with Uncontrolled Type 2 Diabetes at Bangwua District, Chachoengsao Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health 2017;27(3):91-106.

Kim SH, Lee A. Health-literacy-sensitive diabetes self-management interventions: a systematic review and meta-analysis. Worldviews Evid Based Nurs 2016; 13(4):324-33.

Panyasa K, Phucharoen P, Piayoo N. Evaluation of health promotion for People at Risk of Diabetes Mellitus and Hypertension. Journal of Phrapokklao Nursing College 2017; 28(1):51-62.

Charoenjitt U. Effects of health promotion programs on health literacy and health behavior of diabetes pateints of community health center Banpong hospital. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal 2018;3(2):58-72.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง