การศึกษาเปรียบเทียบการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะคลอดด้วยวิธีการของ Dare และ Johnson และความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกเมื่อแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • สุภาพ ชอบขยัน โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

น้ำหนักทารก, การคาดคะเนน้ำหนักทารกในระยะคลอด, น้ำหนักทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

          การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ก่อนคลอดช่วยให้ผู้ปฏิบัติการทางผดุงครรภ์ สามารถตัดสินใจวางแผนในการดูแลผู้คลอดได้อย่างปลอดภัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบผลการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ด้วยวิธีของ Dare’s formula และ Johnson’s formula โดยศึกษาในผู้คลอดจำนวน 115 รายที่มารับบริการในแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา รวบรวมข้อมูลจากรายงานการคลอด วิเคราะห์คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของน้ำหนักทารกในครรภ์ ที่คาดคะเนทั้ง 2 วิธีด้วยสถิติ Paired t test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกในครรภ์ที่คาดคะเนจากวิธีการของ Dare’s และ Johnson’s formula และปัจจัยของผู้คลอดกับน้ำหนักทารกแรกเกิดด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักทารกในครรภ์จากวิธีการของ Dare’s และ Johnson’s formula เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับน้ำหนักทารกแรกเกิดมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 111.77 กรัม (SD= 239.81) และ 356.33 กรัม (SD=447.89) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักทารกในครรภ์ที่คาดคะเนจากวิธีการของ Dare’s และ Johnson’s formula มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิด r=0.72 และ 0.44 (p<0.01) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยของผู้คลอดด้านความสูงยอดมดลูก อายุครรภ์ และเส้นรอบท้องมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกแรกเกิดr=0.50, 0.36 และ 0.33 (p<0.01) ตามลำดับ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ในระยะ คลอดด้วยวิธีการของ Dare’s formula มีความแม่นยำมากกว่า Johnson’s formula เป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก ใช้คัดกรองภาวะทารกในครรภ์ตัวโต หรือทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าได้เบื้องต้น ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจดูแลหรือส่งต่อผู้คลอดไปยังโรงพยาบาลระดับตติยภูมิได

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Royal College of Obstetricians & Gynecologists. Shoul-der dystocia green-top guideline No. 42. 2nd edition [Internet]. London: Nice Accredited; 2012 [cited 2019 Sep 1]. Available from: https://www.rcog.org.uk/ en/guidelines-research-services/guidelines/gtg42/

รุ่งนภา รู้ชอบ, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. ปัจจัยทำนายการคลอดทารกแรก เกิดน้ำหนักน้อย. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2558;33(3):18-29.

ใจทิพย์ รุจนเวช. ความแม่นยำในการทำนายน้ำหนักทารกในครรภ์โดยใช้สมการ Hadlock และ Shepard. ศรีนครินทร์เวชสาร 2551;23(2):147-52.

ขจรศิลป์ ผ่องสวัสดิ์กุล. การคาดคะเนน้ำหนักทารกแรกเกิดโดยใช้ผลคูณระหว่างความสูงของมดลูกและเส้นรอบวงหน้าท้องมารดาที่ระดับสะดือเมื่อเจ็บครรภ์คลอด. พุทธชินราช เวชสาร 2550;24(1):15-21.

อรพินทร์ เตชรังสรรค์, วันเพ็ญ สุขส่ง. การศึกษาเปรียบเทียบน้ำหนักทารกที่ได้จากผลคูณความสูงของมดลูกกับเส้นรอบวงหน้าท้องมารดาที่ระดับสะดือ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. วารสาร-พยาบาลสภากาชาดไทย 2561;11(1):161-70.

Yiheyis A, Alemseged F, Segni H. Johnson’s Formula for Predicting Birth Weight in Pregnant Mothers at Jim-ma University Teaching. Hospital, South West Ethiopia. Med J Obstet Gynecol 2016;4(3):1087-93.

Asto MD, Crisologo MP. Comparative study of four methods of clinical estimation of fetal weight in the late third trimester admitted for delivery: A prospective study. Philippine Journal of Obstetrics and Gynecology 2014; 38(4):14-22.

Buchmann E, Tlale K. A simple clinical formula for predicting fetal weight in labour at term --derivation and validation. S Afr Med J 2009;99(6):457-60.

Gajendra ST, Tripathi A, Priyanka. Comparison of esti-mation of fetal weight by two clinical methods and ul-trasound at term pregnancy. Int J Med Health Res 2017;3(2):25-8.

นุสรา พัวรัตนอรุณกร. การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(5):SV1377-84.

Itarat Y, Buppasiri P, Sophonvivat S. Fetal weight esti-mation using symphysio-fundal height and abdominal girth measurements in different pre-pregnancy Body Mass Indices. Taiwanese Journal of Obstetrics and Gynecolo-gy 2560;25(3):167-74.

งานห้องคลอด โรงพยาบาลด่านขุนทด. รายงานการคลอด โรงพยาบาลด่านขุนทด พ.ศ. 2559 - 2561. นครราชสีมา: โรงพยาบาลด่านขุนทด; 2561.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 18 ม.ค. 2562];5(1):496-507. แหล่งข้อมูล: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/download/181958/136948/

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย; 2553.

Dare FO, Ademowore AS, Ifaturoti OO, Nganwuchu A. The value of symphysio-fundal height/ abdominal girth measurements in predicting fetal weight. Int J Gynaecol Obstet 1990;31(3):243-8.

Johnson RW. Calculations in estimating fetal weight. Am J Obstet Gynecol 1957;74(4):929-30.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง