การประเมินตนเองและความพร้อมเพื่อรับการประเมินมาตรฐานระดับประเทศของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ภูษิต ประคองสาย สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • เบญฑิรา รัชตพันธนากร สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
  • มยุรี จงศิริ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์, ระบบการรับรองคุณภาพ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์มีหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ทีดีของผู้เข้าร่วมการวิจัยหรืออาสาสมัครที่เข้าสู่โครงการวิจัย กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาระบบมาตรฐานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศและในระดับสากล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาสถานการณ์และประเมินความพร้อมของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินตนเองตามมาตรฐาน “ระบบการรับรองคุณภาพ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ” แบบประเมินประกอบด้วย 5 มาตรฐาน (15 ด้าน) ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ 2561 ในหน่วยงานสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษา พบว่าหน่วยงานที่ประเมินตนเองตามมาตรฐาน NECAST 5 มาตรฐาน ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 33 แห่ง (ร้อยละ 35.1) โรงพยาบาลทั่วไป 29 แห่ง (ร้อยละ 30.9) โรงพยาบาลศูนย์ 16 แห่ง (ร้อยละ 17.0) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 15 แห่ง (ร้อยละ 16.1) และวิทยาลัยการสาธารณสุข 1 แห่ง (ร้อยละ 1.0) ส่วนใหญ่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป มีความพร้อมในเรื่องของมาตรฐานที่ 2 การปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายเฉพาะ ในด้านการจัดการของคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ร้อยละ 87.5, 64.3, และ 100.0 ตามลำดับ โรงพยาบาลศูนย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป และวิทยาลัยการสาธารณสุข ผ่านเกณฑ์ต่ำสุดในประเด็นการฝึกอบรมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ทั้งในระยะเริ่มต้นและศึกษาต่อเนื่อง ร้อยละ 13.3, 9.09, 0.0 และ 0.0 ตามลำดับ จากหน่วยงานที่ ทำการสำรวจทั้งหมด 94 แห่ง พบว่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ผ่านเกณฑ์และมีความพร้อม 5 มาตรฐาน รวมทั้งหมด 15 ด้าน จำนวน 1 แห่ง สรุปผลการวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ควรได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทุกหน่วยงานควรมีการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรมในการสนับสนุนการฝึกอบรมคณะกรรมการ และการจัดการโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Standards and Operational Guidance for Ethics Review of Health –Related Research with Human Participant. Geneva: World Health Organi-zation; 2011.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ระบบการรับรองคุณภาพ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Na-tional ethics committee accreditation system of Thailand: NECAST) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2562].แหล่งข้อมูล: http://ohrs.nrct.go.th

สำนักวิชาการสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์การดำเนินงานจริยธรรมการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ของสำนักงานปลัดกระทรวง- สาธารณสุข ประจำปี 2562. นนทบุรี: สำนักงานปลัด-กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Berdie DR, Anderson JF, Niebuhr MA. Questionnaires: design and use. Metuchen, NJ: Scarecrow Press; 1986.

Williams A. How to write and analyses a questionnaire. Journal of Orthodontics 2010;30(3):245–52.

Kadam R, Karandikar S. Ethics committees in India: facing the challenges. Journal Perspectives in Clinical Research 2012;3(2):50-6.

Denholm JT, Bissell K, Viney K, Durand AM, Cash HL, Roseveare C, et al. Research ethics committees in the Pacific Islands: gaps and opportunities for health sector strengthening. Public Health Action 2017;7(1):6-9.

Panichkul S, Mahaisavariya P, Morakote N, Condo S, Caengow S, Ketunpanya A. Current status of the research ethics committees in Thailand. J Med Assoc Thai 2011; 94(8):1013-8.

Arshad A, Arkwright PD. Status of healthcare studies submitted to UK research ethics Committees for approv-al in 2004-5. J Med Ethics 2008;34:393-5.

Council for International Organizations of Medical Science (CIOMS). International ethical guideline for health-re-lated research involving humans. 4th edition. Geneva: Council for International Organizations of Medical Science; 2016.

World Health Organization. Handbook for good clinical research practice (GCP): guidance for implementation. Geneva: World Health Organization; 2005.

World Health Organization. Guideline for good clinical practice current step 4 version [Internet]. [Cited 2019 Jul 13]. Available from: https://database.ich.org/sites/default/files/E6_R2_Addendum.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้