การพัฒนาตำรับอิมัลชันวัฏภาคน้ำมันในน้ำจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะกอก ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มแคโรทีนอยด์จากสารสกัดสมุนไพร

ผู้แต่ง

  • คมสรรค์ บุษบรรณ์ โรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

สารต้านอนุมูลอิสระ, สารแคโรทีนอยด์, สารฟี นอลิก, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันมะกอก, อิมัลชัน, ตำลึง, ใบเตย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่แยกสกัดได้จากสมุนไพร 10 ชนิด โดยนำมาเตรียมในตำรับอิมัลชั่นที่พัฒนามาจากน้ำมันมะพร้าว และน้ำมันมะกอก เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของตำรับอิมัลชันที่พัฒนาจากน้ำมันทั้ง 2 ชนิดนี้ โดยใช้ ซึ่งทำการสกัดจากสมุนไพรสดที่บดละเอียดแล้วแต่ละชนิดๆ ละ 500 กรัม โดยใช้ตัวทำละลาย 1 ลิตร ของเฮกเซน:แอซิโตน (6:4) แล้วทำการวิเคราะห์หา ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมด ปริมาณฟี นอลิกทั้งหมด และความเข้มข้นที่ยับยั้งอนุมูลมูลอิสระได้ร้อยละ 50.0 พบว่าสารสกัดตำลึงและสารสกัดใบเตย มีปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดมากที่สุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 5.859 และ 5.822 ppm ตามลำดับ สารสกัดใบมะพร้าวมีปริมาณกรดฟี นอลิกทั้งหมดมากที่สุด เท่ากับ 68.833 ppm เมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดทั้ง 10 ชนิด ในขณะที่ผลการทดสอบการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH โดยวิธี spectrophotometric assay การศึกษานี้พบว่าสารสกัดฟักแม้วแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดทั้ง 10 ชนิด โดยมีความเข้มข้น ที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50.0 (IC50) เท่ากับ 52.481 ppm จากผลการทดลองที่ได้จึงได้ทำการคัดเลือกสารสกัดตำลึงและสารสกัดใบเตยมาทำการพัฒนาตำรับอิมัลชัน โดยใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันมะกอกเป็นตัวเปรียบเทียบในแต่ละตำรับ โดยทำการศึกษาความคงตัวทางเคมีและทางกายภาพ ได้แก่ ร้อยละการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมด ปริมาณฟี นอลิกทั้งหมด ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความหนืด ขนาดอนุภาค ลักษณะเนื้อสัมผัส สีและกลิ่น ที่สภาวะ 4, 15, 45 ๐C, อุณหภูมิห้อง และสภาวะสลับร้อนสลับเย็น พบว่าสูตรตำรับที่มีส่วนผสมของสาร สกัดตำลึงและสารสกัดใบเตย ซึ่งทั้ง 2 ตำรับนี้มีส่วนผสมของน้ำมันมะกอกมีความคงตัวทางเคมีและทางกายภาพดีกว่าสูตรตำรับที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าวเล็กน้อย และน้อยกว่าสารมาตรฐานเบต้าแคโรทีน ดังนั้น สภาวะที่เหมาะสมในการเก็บตำรับอิมัลชันที่ทำให้ค่าความคงตัวทางเคมีและทางกายภาพมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดสามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิ 4, 15 ๐C และอุณหภูมิห้อง และเมื่อผ่านการทดสอบความคงตัวที่สภาวะสลับร้อนสลับเย็น โดยเก็บที่อุณหภูมิ 4 ๐C เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จากนั้นเก็บที่อุณหภูมิ 45 ๐C เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ทำเช่นนี้นับเป็น 1 รอบ ทำการทดลองทั้งหมด 8 รอบ พบว่า ตำรับอิมัลชันทั้ง 2 ตำรับ มีความคงตัวดีทั้งทางกายภาพ และทางเคมี ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถทดแทนการใช้น้ำมันมะกอกในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วันดี กฤษณพันธ์. ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ.กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

วีระศักดิ์ สามี. แคโรทีนอยด์: โครงสร้างทางเคมี และกลไกที่มีผลต่อการทำหน้าที่ของร่างกาย. ศรีนครินทรวิโรฒ- เภสัชสาร 2548;10(1):58-66.

รงค์ ลาภานันต์. อนุมูลอิสระคืออะไร [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 17 มี.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล: www.vibhava-di.com/web/health_detail.php?id=101

กันทิมา สิทธิธัญกิจ. วิมลนารถ ประดับเวทย์. บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก; 2548.

Willium S. Official methods of analysis of the Associa-tion of Official Analytical Chemists (AOAC). 14th ed. Arlington, Virginia: Association of Official Analytical Chemis; 1984.

Stahi E. Thin layer chromatography a laboratory handbook New york: Springer-Verlag; 1969.

Britton G, Liaaen-Jensen S, Pfander H. Carotenoids, Vol.1A. Isolation and analysis. Basel: Birkhauser: 1995.

Singelton V, Orthifer R, Lamuela-Raventos RM. Analysis of total phenols and other oxidation substrates and antioxidants bymeans of Folin-Ciocalteu reagent.Methods Enzymol 1999;299:152-78.

Prior RL, Wu X, Schaich K. Standardized methods for the determination of antioxidant capacity and phenolics in foods and dietary supplements. J Agric Food Chem 2005:53(10);4290-302.

Ames BN, Marons DM. Revised methods for the Salmonella mutagecity test. Mutation Research 1983; 31;173-215.

Sadighara P, Saghafi M, Erfanmanesh A, Mahdaviyekta M. Antioxidant activity and properties of outer shell pistachios in different temperature of cooking. Der Phar-macia Lettre 2016:8(12);263-6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28

วิธีการอ้างอิง