โมเดลพลังสี่ภาคส่วนสู่การยกระดับการทำงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
คำสำคัญ:
โรคไม่ติดต่อ, โมเดล, การทำงานหลายภาคส่วน, เครือข่าย, การป้องกันและควบคุมโรค, ประเทศไทยบทคัดย่อ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (noncommunicable diseases - NCDs) ที่สำคัญสี่โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคปอดเรื้อรัง ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและภาระโรคต่อโลกและประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงสี่ประการ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ได้รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการขาดกิจกรรมทางกาย การป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงต่างๆต้องการการทำงานร่วมมือหลายภาคส่วน (Multisectoral collaboration) ที่กว้างขวางไปกว่าเพียงการดำเนินงานของ กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น คณะผู้เขียนประสงค์ที่จะนำเสนอกรอบแนวคิด “โมเดลพลังสี่ภาคส่วนสู่การยกระดับการทำงานป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ซึ่งเป็นโมเดลที่ปิดจุดอ่อนของโมเดลการทำงานหลายภาคส่วนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันที่หวังพึ่งภาครัฐให้เป็นผู้ริเริ่มเป็นหลักเท่านั้น โดยที่โมเดลพลังสี่ภาคส่วนนี้มุ่งประสานทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมทำงาน จากกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด (whole-of-Ministry of Public Health) สู่หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด (whole-of-government) และสู่สังคมไทยทั้งหมด (whole-of-society) โมเดลนี้แบ่งภาคีเครือข่ายออกเป็นสี่ภาคส่วนใหญ่ คือ (1) กลุ่มระบบปฏิบัติการที่เป็นทางการ ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด (2) กลุ่มระบบปฏิบัติการที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มปฏิบัติการนอกภาครัฐทั้งหมด ได้แก่ ภาคประชาสังคม เอ็นจีโอ ภาคธุรกิจ เป็นต้น (3) กลุ่มระบบพัฒนาที่เป็นทางการ ได้แก่ แหล่งทุน และองค์กรระหว่างประเทศ และ (4) กลุ่มระบบพัฒนาที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ เครือข่ายนักวิชาการ โมเดลพลังสี่ภาคส่วนนี้จะสามารถดีงและสนับสนุนให้องคาพยพทุกภาคส่วนทั้งประเทศได้ริเริ่ม ได้แสดงศักยภาพในการป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์ห้าประการที่จะช่วยยกระดับการทำงานร่วมมือหลายภาคส่วน คือ (1) ภาวะผู้นำร่วม (2) การใช้และสร้างความรู้ (3) การถักทอเครือข่ายและผลักดันสังคม (4) การเป็นศูนย์กลางการจัดการมืออาชีพ ประกอบด้วย การจัดทำข้อมูล การจัดโครงสร้างและกระบวนการสนับสนุนการทำงาน การจัดทำแผนและชุดดัชนีชี้วัดต่างๆ การจัดให้มีกลไกการติดตามและประเมินผล และการจัดสรรงบประมาณ และ (5) การโน้มน้าวให้ผู้นำสูงสุดมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีเจตจำนงทางการเมืองที่มุ่งมั่น (political commitment) ต่อการป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดขึ้นในตนเองอย่างแท้จริง การป้ องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องสู่การบรรลุเป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี พ.ศ. 2573 ย่อมไม่ไกลเกินเอื้อมหากสามารถดำเนินการทำงานร่วมกับภาคีใหญ่ทั้งสี่ภาคส่วนดังกล่าวข้างต้นและดำเนินกลยุทธ์ทั้งห้านี้ได้
Downloads
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Noncommunicable diseases: country profiles 2018. Geneva: World Health Organi-zation; 2018.
Engelgau M, Rosenhouse S, El-Saharty S, Mahal A. The economic effect of noncommunicable diseases on house-holds and nations: a review of existing evidence. J Health Commun 2011;16(Suppl 2):75–81.
World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases 2014. Geneva: World Health Organization; 2014.
สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ. BOD: ระบบข้อมูลภาระโรค [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.hiso.or.th/bodproject/
แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย. รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2561.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประเทศไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2560.
World Health Organization. 2008-2013 action plan for the global strategy for the prevention and control of non-communicable diseases: prevent and control cardio-vascular diseases, cancers, chronic respiratory diseases and diabetes. Geneva: World Health Organization; 2008.
World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of noncommunicable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization, 2013.
World Health Organization. Noncommunicable diseases progress monitor, 2015. Geneva: World Health Organi-zation; 2015.
World Health Organization. Noncommunicable diseases progress monitor, 2017. Geneva: World Health Organi-zation; 2017.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563. นนทบุรี: กระทรวง-สาธารณสุข; 2553.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทิศทาง เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ระยะ 10 ปี (2555-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2554.
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสาตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฎ์, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs: kick off to the goals. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2559.
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535. ราชกิจ-จานุเบกษา เล่มที่ 109, ตอนที่ 38 (ลงวันที่ 5 เมษายน 2535).
พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109, ตอนที่ 40 (ลงวันที่ 7 เมษายน 2535).
กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่สอง พ.ศ. 2559-2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559.
พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. ราชกิจ-จานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 39 ก (ลงวันที่ 5 เมษายน 2560).
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551.ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 33 ก (ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551).
กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2559.
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานคณะ-กรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2568. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 72 ก (ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2560).
กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135, ตอนที่ 166 ง (ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2561).
กรมอนามัย. แผนแม่บทการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2561.
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134, ตอนที่ 32 ก (ลงวันที่ 20 มีนาคม 2560).
World Health Organization. Contributing to social and economic development: sustainable action across sectors to improve health and health equity (follow-up of the 8thGlobal Conference on Health Promotion): report of the Secretariat. (Provisional agenda item 14.5, A68/17, 18 May 2015) [Internet]. [cited 2020 Apr 18]. Available from: https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA68/A68_17-en.pdf
World Health Organization. Approaches to establishing country-level, multisectoral coordination mechanisms for the prevention and control of noncommunicable diseases. New Delhi: World Health Organization – Regional Office for South-East Asia; 2015.
Ramaboot S, Ungchusak K, Rousseau S, Shuey D. Final evaluation of WHO country cooperation strategy, Thailand 2012-2016. Nonthaburi: World Health Organization Thailand; 2016.
Joint Mission of the United Nations Interagency Task Force on the Prevention and Control of Noncommunica-ble Diseases, Thailand, 20-30 August 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
Bechervaise C. 5 reasons why vision is important in leadership [Internet]. [cited 2020 Apr 17]. Available from: https://takeitpersonelly.com/2013/10/14/5-reasons-why-vision-is-important-in-leadership/
Heathfield SM. Leadership vision: you can’t be a real leader who people want to follow without vision [Internet]. [cited 2020 Apr 17]. Available from: https://www.thebalancecareers.com/leadership-vision-1918616
Abrell-Vogel C, Rowold J. Leaders’ commitment to change and their effectiveness in change – a multilevel investigation. Journal of Organizational Change Manage-ment 2014;27(6):900-21.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ทำเนียบนายกรัฐมนตรี. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 19 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaigov.go.th/aboutus/history/index
วิกิพีเดีย. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 19 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-สาธารณสุขของไทย
Wilson R. Collective leadership – the what, why, and how [Internet]. [cited 2020 Apr 19]. Available from: https://growingorganisations.com/wp-content/uploads/2018/08/blog-collective-leadership-the-what-why-and-how.pdf
Friedrich TL, Vessey WB, Schuelke MJ, Ruark GA, Mumford MD. A framework for understanding collective leadership: the selective utilization of leader and team expertise within networks. Leadership Quarterly 2009; 20(6):933-58.
Friedrich TL, Griffith JA, Mumford MD. Collective leadership behaviors: evaluating the leader, team network, and problem situation characteristics that influence their use. Leadership Quarterly 2016;27(2):312-33.
Bono ED. Teach your child how to think. London: Pen-guin Books; 1994.
MGR Online. เครือข่ายงดเหล้า-ผู้หญิง จี้คมนาคม สังคยนารถไฟห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปิดช่องขี้เมาก่อเหตุ [อินเทอร์เน็ต]. 9 กรกฎาคม 2557 [สืบค้นเมื่อ 29 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://m.mgronline.com/qol/detail/9570000077484
ปาริชาต ศิวะรักษ์. กำเนิดกองทุน สสส. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง-เสริมสุขภาพ; 2556.
Covey SR. The 7 habits of highly effective people. Coral Gables, FL: Mango Media Inc; 2015.
Wasi P. Triangle that moves the mountain and health systems reform movement in Thailand. Bangkok: Health Systems Research Institute; 2000.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.