การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ ชื่นตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สำลี เวชกามา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • เพ็ญแข สอาดยิ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการการเงินการคลัง, คุณภาพการบริหารการเงินการคลัง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล ประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 กิจกรรม คือ การจัดองค์กรรับผิดชอบการดำเนินงาน การกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดการดำเนินงานการพัฒนากิจกรรมงานบริหารการเงินการคลัง และการควบคุมกำกับและประเมินผล ดำเนินงานตามรูปแบบโดยคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังระดับโรงพยาบาล และระดับจังหวัด ในโรงพยาบาล 9 แห่งของจังหวัดยโสธร ในปีงบประมาณ 2559 ประเมินผลจากการบรรลุเป้าหมาย 5 ตัวชี้วัด และประเมินคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลในด้านการรับรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารจัดการการเงินการคลัง และการดำเนินงานบริหารการเงิน การคลังโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนหนึ่งจากกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและประเมินข้อมูลในพื้นที่ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าสัมประสิทธิ์ Pearson product moment correlation coefficient ผลการศึกษา พบว่า (1) การดำเนินงานด้านรายได้ -ค่าใช้จ่ายจริงเทียบกับแผน ผ่านเกณฑ์มีรายได้น้อยกว่า แผนไม่เกินร้อยละ 5.00 มีค่าใช้จ่ายมากกว่าแผนไม่เกินร้อยละ 5.00 จำนวน 7 โรงพยาบาล (2) คุณภาพบัญชีและ (3) คุณภาพการบริหารการเงินการคลัง ผ่านเกณฑ์คะแนนการวัดได้ร้อยละ 80.00 ขึ้นไปจำนวน 8 โรงพยาบาล (4) ภาวะวิกฤติทางการเงินการคลัง ผ่านเกณฑ์ไม่วิกฤติระดับ 7 จำนวน 8 โรงพยาบาล และ (5) ต้นทุนบริการผ่านเกณฑ์ มีต้นทุนไม่เกินกลุ่มระดับบริการ จำนวน 7 โรงพยาบาล มีโรงพยาบาลผ่านทั้ง 5 เป้าหมาย ตัวชีวัดจำนวน 4 โรงพยาบาล (ร้อยละ 44.44) คือ โรงพยาบาลยโสธร โรงพยาบาลคำเขือนแก้ว โรงพยาบาลกุดชุมและโรงพยาบาลไทยเจริญ คณะกรรมการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลรับรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารการเงินการคลังทุกกิจกรรมและ ระดับมากร้อยละ 36.45 และ 51.40 เห็นด้วยทุกกิจกรรมและระดับมากร้อยละ 65.42 และ 19.63 มีการดำเนินงานบริหารการเงินการคลังระดับดีมากและดีร้อยละ 10.30 และ 38.30 พบว่าการรับรู้และความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการดำเนินงานบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังส่งผลให้การบริหารงานการเงินการคลังของโรงพยาบาลมีคุณภาพในระดับหนึ่งและควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อที่คณะกรรมการบริหารการเงินการคลังจะนำความรู้ความเข้าใจไปบริหาร จัดการการเงินการคลังให้มีคุณภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ