การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย เหลาสาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  • กัลยา ไชยสัตย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  • วชิราภรณ์ วิทยาขาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, นักบริบาลผู้สูงอายุ, ผู้จัดการและดูแลผู้สูงอายุ, สหสาขาวิชาชีพ, ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, ระดับภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วม ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะพึ่งพิง Activities of daily living (ADLs or ADL) ภายหลังการดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิงหรือญาติภายหลังการดูแล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการศึกษา สภาพปัญหา และความต้องการในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จากนั้นดำเนินการจัดทำแผนและจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง (รพ.สต.) ซึ่งอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลกระเดียน และดำเนินการให้การดูแลผู้สูงอายุตามแผน โดยอาศัยกระบวนการ PDCA เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือต้นไม้ปัญหาแบบประเมิน ADL แบบประเมินความพึงพอใจ สัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมส่งผลให้เกิดรูปแบบการดูแลแบบ คึดฮอด จอดเถิง เบิงแยง ฮักแพง บ่ถิ่มกัน ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอจากนักบริบาลผู้สูงอายุ และได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ถูกต้องและรวดเร็ว โดยทีมสหสาขาวิชาชีพรวมทั้งได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านสังคมจากทีมภาคีเครือข่ายตำบลกระเดียน ส่งผลให้ภายหลังการดูแลมีการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะพึ่งพิงในแต่ละกลุ่มซึ่งใช้การวิเคราะห์ผล โดยหาค่าเฉลี่ยของ ADL เปรียบเทียบก่อนและหลังให้การดูแล พบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ย ADL จาก 10.36 เป็น 10.78 คะแนน กลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ย ADL จาก 8.23 เป็น 8.50 คะแนน กลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ย ADL จาก 6.00 เป็น 6.33 คะแนน และกลุ่มที่ 4 ค่าเฉลี่ย ADL จาก 4.00 เป็น 4.00 คะแนน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น สอดคล้องกับผลการตอบแบบประเมินความพึงพอใจที่วิเคราะห์ผล โดยหาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ พบว่า หลังให้การดูแลมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับดีมากทุกข้อคำถาม ผลการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ภายหลังการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ความคิดเห็นไปในทางบวก จึงกล่าวได้ว่าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง รพ.สต. เวียง สามารถให้การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนตามแผนที่จัดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสถิติแห่งประเทศไทย.รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย 2559. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http:www.nso.go.th/sites/2014

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สถานการณ์ผู้สูง-อายุไทย พ.ศ.2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่; 2560.

ชวลิต สวัสดิ์ผล, ธวัชชัย เพ็งพินิจ, อัครเดช เสนานิกรณ์, วารี ศรีสุรพล. การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษา-ปริทรรศน์ มจร. 2560;5(ฉบับพิเศษ):387-405.

ประนอม โพธิ์ทอง. การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (long term care) โรงพยาบาลกมลาไสย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้น เมื่อ 5 ม.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.186.16/kmblog/fulltext/1503650259.docx

ภาสกร สวนเรือง, อาณัต วรรณศรี, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชน ภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว ด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัย-ระบบสาธารณสุข 2561;12(3):437-51.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ